สสจ.ระนอง ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ในกะปิ แนะทำให้สุกก่อนประกอบอาหาร
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เผยผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างกะปิ พบเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด แนะวิธีรับประทานให้ปลอดภัยด้วยการทำกะปิให้สุก ความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า “กะปิ” หรือ “เคย” หากเก็บรักษาไว้นานและนำมาบริโภคไม่ถูกต้องอาจได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้
จากการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างกะปิในจังหวัดระนองส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สุราษฎร์ธานี ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด ซึ่งกะปิที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้แช่เย็น หรือแช่ในที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อนำมาบริโภคก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ได้แก่ ปวดและเกร็งที่ช่องท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
สำหรับวิธีการนำกะปิมารับประทานควรทำกะปิให้สุกเสียก่อนโดยการทอด ย่าง ปิ้ง หรือคั่ว ก็ได้ ด้วยความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที วิธีการเลือกซื้อกะปิที่ปลอดภัยให้เลือกซื้อกะปิที่มีลักษณะ ดังนี้ สีควรเป็นสีตามธรรมชาติ คือ สีน้ำตาลเข้มถึงน้ำตาลแดง ไม่ซื้อชนิดที่มีสีแดงเข้มหรือสีม่วงอมแดง ลักษณะภายนอกสังเกตว่าเก่าหรือมีความชื้นสูงหรือไม่ เนื้อกะปิต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหนียว และไม่แห้งหรือเปียกเกินไป ควรมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของกะปิ ไม่มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนีย กลิ่นสาบหรือกลิ่นอับ รสชาติต้องมีรสเค็มกลมกล่อม ไม่มีรสขม
สนข.กรมประชาสัมพันธ์ 18 มิ.ย. 2552
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง เผยผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างกะปิ พบเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด แนะวิธีรับประทานให้ปลอดภัยด้วยการทำกะปิให้สุก ความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า “กะปิ” หรือ “เคย” หากเก็บรักษาไว้นานและนำมาบริโภคไม่ถูกต้องอาจได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้
จากการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยสุ่มเก็บตัวอย่างกะปิในจังหวัดระนองส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพมาตรฐาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ สุราษฎร์ธานี ผลปรากฏว่าส่วนใหญ่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด ซึ่งกะปิที่เก็บไว้นานโดยไม่ได้แช่เย็น หรือแช่ในที่มีความเย็นไม่เพียงพอ ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเมื่อนำมาบริโภคก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ได้แก่ ปวดและเกร็งที่ช่องท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
สำหรับวิธีการนำกะปิมารับประทานควรทำกะปิให้สุกเสียก่อนโดยการทอด ย่าง ปิ้ง หรือคั่ว ก็ได้ ด้วยความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที วิธีการเลือกซื้อกะปิที่ปลอดภัยให้เลือกซื้อกะปิที่มีลักษณะ ดังนี้ สีควรเป็นสีตามธรรมชาติ คือ สีน้ำตาลเข้มถึงน้ำตาลแดง ไม่ซื้อชนิดที่มีสีแดงเข้มหรือสีม่วงอมแดง ลักษณะภายนอกสังเกตว่าเก่าหรือมีความชื้นสูงหรือไม่ เนื้อกะปิต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหนียว และไม่แห้งหรือเปียกเกินไป ควรมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของกะปิ ไม่มีกลิ่นคาว กลิ่นฉุนของแอมโมเนีย กลิ่นสาบหรือกลิ่นอับ รสชาติต้องมีรสเค็มกลมกล่อม ไม่มีรสขม
สนข.กรมประชาสัมพันธ์ 18 มิ.ย. 2552