ลำดับการใช้สิทธิเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ (เป็นผู้โดยสาร)
ลำดับ |
บาดเจ็บ |
เสียชีวิต |
1 |
ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ)
1. ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงรายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท 2. เงินชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน สำหรับการชดเชยรายวัน กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล |
ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ. รถฯ) ค่าปลงศพ จำนวน 2 แสนบาท (ทั้งนี้รวมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนเสียชีวิตหากมี) |
2 |
ใช้สิทธิในส่วนของการเรียกร้องจากกรมธรรม์ภาคสมัครใจและบริษัทรถโดยสาร (กรณีบาดเจ็บ) |
2. ใช้สิทธิในส่วนของการเรียกร้องจากกรมธรรม์ภาคสมัครใจและบริษัทรถโดยสาร (กรณีเสียชีวิต) |
3 |
สิทธิการเรียกร้องตามกฎหมาย ทางอาญา ตำรวจส่งสำนวนกับอัยการเพื่อฟ้อง อัยการเป็นผู้ฟ้องคดี ผู้ประสบภัยเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 จำเลย 1. พนักงานขับรถ (ผู้กระทำละเมิด) 2. บริษัทรถ (นายจ้าง / จ้างวาน) 3. บริษัทประกันภัย (รับประกันภัยตามกรรมธรรม์) 4. บริษัทขนส่ง (ผู้ให้สัมปทานเส้นทางการเดินรถ) |
3.สิทธิการเรียกร้องตามกฎหมาย ทางอาญา ตำรวจส่งสำนวนกับอัยการเพื่อฟ้อง อัยการเป็นผู้ฟ้องคดี ทายาทผู้ประสบภัยเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ ** ยุติหากพนักงานขับเสียชีวิต** วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 จำเลย 1. พนักงานขับรถ (ผู้กระทำละเมิด) 2. บริษัทรถ (นายจ้าง / จ้างวาน) 3. บริษัทประกันภัย (รับประกันภัยตามกรรมธรรม์) 4. บริษัทขนส่ง (ผู้ให้สัมปทานเส้นทางการเดินรถ)** หากพนักงานขับรถเสียชีวิตก็สามารถฟ้องบริษัทรถได้ในฐานะนายจ้างให้กระทำการ ** |