ข่าว/บทความรถโดยสาร

"วิทยา"ชี้ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถ

กรณี ที่มีแนวคิดในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเงินกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัย รถยนต์ จาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า การรักษาพยาบาลที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากบริษัทประกันในช่วงแรก เมื่อรักษาหมดวงเงินประกัน ก็ต้องกลับเข้ามารักษาตามสิทธิของแต่ละบุคคล ซึ่งถือว่าไม่ได้รับการดูแลจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้อย่างเต็มที่ โดยประมาณค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุจราจร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 7,158 ล้านบาท
 
เมื่อวันที่ 22 มกราคม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แนวคิดในการเปลี่ยนระบบ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นเพราะขณะนี้กองทุนผู้ประสบภัยจากรถเปลี่ยนแปลงไปจากวัตถุประสงค์เดิม ที่ออกกฎหมายไว้ให้มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือประชาชน เพราะไม่มีกองทุนใดคอยดูแล แต่ขณะนี้กฎหมายกำหนดให้คนไทยทุกคนได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งได้ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรจะให้เวลาในการหารือและตัดสินใจ เนื่องจากอาจจะกระทบกระเทือนหลายฝ่าย โดยเฉพาะธุรกิจการประกันภัย

 

าย วิทยากล่าวว่า ได้มอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาระดมความคิด พูดคุย ศึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง แม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะออกมาในสมัยที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้มีเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนก็จะต้องทำ และปัจจุบันรายละเอียดต่างๆ ในสิทธิการรักษาพยาบาลเปลี่ยนไปมากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

 

ยอมรับว่ามีข้อร้องเรียนเข้ามาเสมอๆ โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้าในการจ่ายเงินของบริษัทประกันภัย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นการโยนหินถามทางว่า สังคมจะมีความคิดเห็นอย่างไร ส่วนจะดำเนินการทันทีหรือไม่นั้น กระทรวงสาธารณสุขมีหลายเรื่องที่ต้องทำขณะนี้ เช่น เรื่องอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมูบ้าน (อสม.) เพิ่งเสร็จไป คงจะต้องทำทีละเรื่อง เดือนละเรื่องและแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา " นายวิทยากล่าว

 นสพ.มติชน 23-01-52

พิมพ์ อีเมล