“พอ รถชนปุ๊บ เรารู้สึกตัวเองตายแล้วนะ เพราะหัวแตกเลือดไหลอาบเต็มหน้าไปหมด แล้วก็ล้มลงไปทับเพื่อนด้วย เพื่อนก็นอนนิ่ง พอได้สติก็พยายามปีนออกนอกรถ ดีนะที่น้ำในคลองมันแห้งไม่งั้นแย่เลย พอคลานออกมาได้ก็นอนพัก รู้สึกเจ็บแผลที่หัวและปวดตรงสะโพกมากๆลุกขึ้นเดินไม่ได้ “
ณัฐชา ศรีประไพ เล่าถึงนาทีชีวิตที่ยังฝังติดอยู่ในหัวจนถึงปัจจุบัน
มัน เป็นช่วงเวลาประมาณ 5 ทุ่มของคืนวันที่วันที่ 30 มีนาคม 2552 หลังเลิกงานล่วงเวลากะดึกณัชชาพร้อมเพื่อนพนักงานบริษัท โอเชียนกลาส จำกด(มหาชน) ที่เธอทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู พากันเดินขึ้นรถบัสรับส่งพนักงานที่บริษัทจัดให้ พอพนักงานขึ้นเต็มคันรถโชเฟอร์ก็ออกรถห้อตะบึงอย่างคึกคะนอง
รถ แล่นมาถึงสี่แยกภายในนิคมอุตสาหกรรมแทนที่จะหยุดรถ โชเฟอร์ห่ามกลับเหยีบคันเร่งพารถพุ่งไปข้างหน้าโดยทันที จังหวะเดียวกับที่รถบัสรับส่งพนักงานอีกบริษัทหนึ่งได้วิ่งมาบนนถนนที่ตัด ผ่านถึงสี่แยกด้วยความเร็วที่ไม่แพ้กัน ได้พุ่งชนรถบัสที่ณัชชานั่งมาบริเวณล้อหลังด้านซ้าย ทำให้รถพลิกตะแคงล้มไปทางด้านขวาอย่างรุนแรงทันที และท้ายรถไถลตกลงไปในคูน้ำ
อุบัติเหตุ นี้ทำให้มีเพื่อนพนักงานเสียชีวตไป 2 รายนอกนั้นบาดเจ็บหนักบ้างเบาบ้างโดยทั่วหน้ากัน สำหรับณัชชานั้นศีรษะกระแทกของแข็งในรถแผลแตกยาวประมาณ 8 เซนติเมตรเลือดไหลอาบ ที่หนักว่านั้นคือผลเอ็กซเรย์บอกให้รู้ว่ากระดูกเชิงกรานด้านขวาของเธอร้าว เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอมีอาการเจ็บฝังลึกอยู่ตลอดเวลาที่พักรักษาพยาบาลร่วม 33 วัน และยังคงเจ็บเป็นบางครั้งหากต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน
การ บาดเจ็บทำให้เธอทำงานหนักไม่ได้ต้องเปลี่ยนมานั่งทำงานเอกสารแทน ซึ่งงานทำนองนี้มีแต่ทำงานตามเวลาปกติไม่มีโอทีให้ ทำให้รายได้ของเธอที่ส่งดูแลพ่อแม่ฝืดเคือง ขัดสนไปโดยปริยาย
หลัง เกิดเหตุบริษัทประกันภัยได้เข้ามาที่บริษัทและเรียกพนักงานที่ประสบเหตุทุก คนมาเจรจาค่าเสียหาย หลายคนถูกเสนอให้รับเงินเพียงแค่ 200 - 500 บาทกับความเสี่ยงภัยที่ถูกเรียกว่า “เล็กๆน้อย” สำหรับความเจ็บปวดของณัชชาบริษัทประกันภัยเสนอให้ 9,700 บาท
ณัฐ ชาถึงกับอึ้งว่าค่าชิวตของเธอและเพื่อนพนักงานมีแค่เพียงเท่านี้จริงหรือ เธอตัดสินใจทันทีว่าอยากจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับบริษัทรถและบริษัท ประกันภัยเพื่อความเป็นธรรมที่เธอคิดว่ามันไม่น่าจะมีอยู่ที่ไหนสักแห่งใน โลกนี้
“ฝ่ายบุคคลบอกกับเราว่า อย่าใช้ความรู้สึกเรียกร้อง แต่เขาไม่รู้หรอกว่าเราเจ็บจริง ๆ ถึงแม้ดูจากสภาพภายนอกเราอาจจะดูเหมือนคนปกติทั่วไป แต่บางเวลาเรานั่งนานก็ไม่ได้ ออกกำลังกายเพื่อใช้กล้ามเนื้อก็ไม่ได้ มันจะปวด บางทีมันปวดจี๊ดขึ้นมาเราก็ต้องหยุด ยิ่งช่วงแรก ๆ เดินเหมือนคนขาไม่เท่ากัน เพราะมันปวด”
ฝ่ายบุคคลของ บริษัทไม่เห็นด้วยกับความคิดของณัชชา ด้วยความเป็นห่วงว่าการที่เธอจะใช้สิทธิยื่นฟ้องนั้น อาจส่งผลต่อการทำงานที่เธอต้องลางานเพื่อไปขึ้นศาล และส่งผลต่อบริษัทในที่สุดและอาจเป็นเหตุให้เธอต้องถูกออกจากงานได้
แต่ วันที่ณัชชาได้เจอคนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคซึ่งเดินทางมาพูดคุยกับเธอและ เพื่อถึงบริษัท ทำให้เธอมีความมั่นใจมากขึ้นในการความคิดของตนเอง
หลัง เกิดเหตุ 5 เดือน เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานเรียบร้อย ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ส่งเรื่องยื่นฟ้อง เรียกค่าเสียหายให้เธอเป็นคดีผู้บริโภคเมื่อเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน โดยเรียกค่าเสียหายไปทั้งสิ้นกว่า 6 แสนบาท (จากความเสียหายที่มีการประเมินเบื้องต้นประมาณ 1.6 แสนบาท)
ศาลได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ย 2 ครั้ง จนได้ตัวเลขที่ 200,000 บาท ณัชชาและทนายความอาสาเห็นพ้องต้องกันว่านี่คือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจาก ที่เคยถูกเสนอให้รับเพียงแค่ 9,700 บาท มันเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นถึง 2,000 เปอร์เซนต์ที่บริษัทประกันภัยยอมแสดงความรับผิดชอบในท้ายที่สุด และเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการประเมินความเสียหายที่แท้จริง โดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสียเวลาในกระบวนการสืบคดีต่อไป
บท เรียนการต่อสู้ของณัชชาได้สร้างสีสันชีวิตให้กับเพื่อนพนักงานทุกคน ว่าแรงงานราคาถูกอย่างพวกเธอ ก็มีสิทธิเรียกร้องคุณค่าชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นธรรมได้ไม่แพ้ใคร
นั่น เป็นเคสหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างของสิทธิผู้โดยสาร ที่โครงการส่งเสริมสนับสนุนสิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ทำการศึกษาและรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะมีความรู้ความเข้าใจ ถึงสิทธิของตนเองและได้รับการเยียวยาในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม