เหตุการณ์รถตู้สาธารณะประสบอุบัติเหตุมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่เพียงในช่วงเทศกาล เหตุเพราะการแข่งขันเพื่อวิ่งให้ได้หลายรอบต่อวัน
เพราะคนขับส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยเช่ารถตู้ ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาต้องวิ่งให้พอค่าส่งรถและค่าใช้จ่ายของตัวเองให้มากที่สุด
แม้รัฐจะมีมาตรการตรวจจับความเร็วด้วยระบบ RFID แต่ดูเหมือนว่างานนี้จะไปแก้ที่ปลายเหตุ!
สวนีย์ ฉ่ำเฉลียว ผู้ประสานงานโครงการการมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้บริโภคเพื่อรถโดยสารปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มองว่า
แม้ภาครัฐจะมีมาตรการออกมาแต่การแก้ปัญหาอุบัติเหตุของรถตู้โดยสารยังไม่ตรงจุด เห็นได้จากมาตรการที่ออกมา เช่น
รถตู้โดยสารต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยให้กับผู้โดยสารทุกที่นั่ง แต่ยังไม่มีการกวดขันให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดอยู่ดี
โดย ปัญหาที่พบตอนนี้คือ จุดจอดรถตู้โดยสารในสายที่วิ่งออกต่างจังหวัด มีกฎบังคับใช้ให้จอดรับคนในสถานีขนส่งผู้โดยสาร
โดย ปัญหาที่พบตอนนี้คือ จุดจอดรถตู้โดยสารในสายที่วิ่งออกต่างจังหวัด มีกฎบังคับใช้ให้จอดรับคนในสถานีขนส่งผู้โดยสาร
เช่น หมอชิต เอกมัย สายใต้ใหม่ แต่อาจเป็นเพราะข้อจำกัดด้านพื้นที่ซึ่งมีที่จอดรถไม่เพียงพอ ทำให้รถตู้เหล่านั้นต้องออกไปจอดตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและตำรวจเองไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างจริงจัง
ส่วนระบบ RFID ที่ใช้ตรวจจับความเร็ว ยังมีความไม่มั่นใจว่าในพื้นที่นอกเหนือที่ติดตั้งสัญญาณ เช่น ทางหลวงแผ่นดิน
ส่วนระบบ RFID ที่ใช้ตรวจจับความเร็ว ยังมีความไม่มั่นใจว่าในพื้นที่นอกเหนือที่ติดตั้งสัญญาณ เช่น ทางหลวงแผ่นดิน
ในถนนต่างจังหวัดจะสามารถตรวจจับความเร็วได้หรือไม่ ขณะเดียวกันในพื้นที่ซึ่งมีการติดตั้งเครื่อง
คนขับเองจะหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางลัดอื่น เพื่อใช้ความเร็วเกินกำหนดได้ ทำให้ไม่สามารถจับความเร็วได้อย่างที่คาดหมาย
ปัญหาของรถตู้โดยสารที่บรรทุกคนเกิน ยังมีการร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถโดยสารที่วิ่งในต่างจังหวัด เช่น
ปัญหาของรถตู้โดยสารที่บรรทุกคนเกิน ยังมีการร้องเรียนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถโดยสารที่วิ่งในต่างจังหวัด เช่น
เส้นทางกรุงเทพฯ–สุพรรณบุรี (สายเอเซีย), กรุงเทพฯ–อยุธยา–อ่างทอง–สุพรรณบุรี, สำโรง–คลองด่าน, กรุงเทพฯ–สมุทร สงคราม
ด้าน รถตู้เถื่อน ยังมีแทรกซึมให้เห็นอยู่ไม่ขาด แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของภาครัฐ ที่ประกาศและดำเนินการเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
ด้าน รถตู้เถื่อน ยังมีแทรกซึมให้เห็นอยู่ไม่ขาด แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาจริงเอาจังของภาครัฐ ที่ประกาศและดำเนินการเป็นครั้งคราวเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
แต่ในระยะยาวยังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ปัญหาของคนขับก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งพอสรุปได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. คนขับหลับในหรือมีสภาพร่างกายไม่พร้อม เกิดจากปัญหาความเครียดเรื่องส่วนตัว การพักผ่อนน้อย และขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินที่กฎหมายกำหนด 4 ชั่วโมง
1. คนขับหลับในหรือมีสภาพร่างกายไม่พร้อม เกิดจากปัญหาความเครียดเรื่องส่วนตัว การพักผ่อนน้อย และขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินที่กฎหมายกำหนด 4 ชั่วโมง
ถ้าหากเกินต้องมีคนเปลี่ยนเพื่อขับต่อ แต่กรณีคนขับรถตู้บางคนต้องขับตั้งแต่เช้าถึงเย็นเพื่อทำเวลา ขณะเดียวกันรถตู้โดยสารบางสายยังวิ่งเกินระยะทางที่กฎหมายกำหนดไว้
ห้ามเกินกว่า 300 กิโลเมตร แต่ใช้พนักงานขับรถเพียงคนเดียว
2. ประมาทด้วยการขับรถเร็ว แซงซ้าย แซงขวา ไม่เคารพกฎจราจร ทั้งที่มีการกำหนดตามกฎหมายให้รถตู้โดยสารไม่ควรขับเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. สภาพรถมีการดัดแปลง บรรทุกผู้โดยสารเกินกว่ากำหนดที่จดทะเบียน ทำให้เสียความสมดุลในการควบคุมรถ ทั้งการเลี้ยวโค้งและใช้ความเร็ว
2. ประมาทด้วยการขับรถเร็ว แซงซ้าย แซงขวา ไม่เคารพกฎจราจร ทั้งที่มีการกำหนดตามกฎหมายให้รถตู้โดยสารไม่ควรขับเร็วเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. สภาพรถมีการดัดแปลง บรรทุกผู้โดยสารเกินกว่ากำหนดที่จดทะเบียน ทำให้เสียความสมดุลในการควบคุมรถ ทั้งการเลี้ยวโค้งและใช้ความเร็ว
และไม่ได้ต่อภาษีจึงไม่มีการตรวจสภาพรถ บางคันติดไฟส่องสว่าง 5 – 7 ดวง มากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดทำให้มีแสงสว่างมากเกินไป
ขณะเดียวกันยังมีการเปิดไฟใส่หน้ารถผู้ขับขี่คนอื่นทำให้เกิดอุบัติเหตุ ด้านเข็มขัดนิรภัยมีแต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะมีการผูกติดไว้กับเบาะ
เช่นเดียวกับผู้โดยสารที่ไม่คิดหยิบมาใช้เพราะไม่ตระหนักถึงความปลอดภัย
4. สภาพถนนชำรุด เป็นหลุมบ่อ คอสะพานทรุด มีสิ่งกีดขวางและวัตถุตกหล่นบนพื้นถนน และทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดีมีหมอกควัน ฝนตกถนนลื่น
5. ผู้โดยสารใช้รถตู้ผิดกฎหมาย หรือรถตู้ป้ายดำ ที่วิ่งปะปนกับรถตู้ประจำทาง รถตู้เหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
4. สภาพถนนชำรุด เป็นหลุมบ่อ คอสะพานทรุด มีสิ่งกีดขวางและวัตถุตกหล่นบนพื้นถนน และทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดีมีหมอกควัน ฝนตกถนนลื่น
5. ผู้โดยสารใช้รถตู้ผิดกฎหมาย หรือรถตู้ป้ายดำ ที่วิ่งปะปนกับรถตู้ประจำทาง รถตู้เหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
สังเกตรถตู้เถื่อนโดยดูจากป้ายทะเบียนจะไม่ใช่สีเหลืองและตัวเลขสีดำ ซึ่งการเลือกขึ้นรถที่ถูกกฎหมายมีผลต่อการชดเชยเยียวยาหากเกิดอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต
แต่ถ้าเป็นรถเถื่อนเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถพวกนี้มักมีเจ้าของเป็นตัวบุคคล ไม่ได้จดทะเบียนในนามนิติบุคคล อาจไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต่อการชดเชยแม้มีคำพิพากษาก็ตาม
บางครั้งบริษัทประกันภัยก็บ่ายเบี่ยงและอ้างว่าใช้รถผิดประเภท
แนวทางแก้ไขที่ดีควรพัฒนาระบบ จีพีอาร์เอสเข้ามาควบคุมผู้ขับรถตู้ เพราะระบบนี้จะสามารถตรวจสอบได้แม้คนขับจะวิ่งออกนอกเส้นทาง
แนวทางแก้ไขที่ดีควรพัฒนาระบบ จีพีอาร์เอสเข้ามาควบคุมผู้ขับรถตู้ เพราะระบบนี้จะสามารถตรวจสอบได้แม้คนขับจะวิ่งออกนอกเส้นทาง
ขณะเดียวกันควรมีการสนับสนุนให้เกิดกองทุนรถตู้โดยสารสาธารณะ อย่าง ขสมก.หรือ บขส. สามารถวิ่งได้แม้ไม่มีคนขึ้นเพราะเขามีกองทุนเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงาน
ตรงข้ามกับรถตู้สาธารณะที่ทุกวันนี้คนขับต้องเร่งรีบทำรอบเพื่อนำเงินมาจ่ายค่าเช่ารถและค่าใช้จ่ายของตน เขาไม่สามารถวิ่งได้ถ้าไม่มีคน เมื่อเป็นอย่างนี้หลายครั้งคนขับเกิดความเครียด
การมีกองทุนจะเหมือนกับการคัดเลือกคนขับรถตู้ที่มีระเบียบวินัยไปในตัวด้วย ในอนาคตเราคาดหวังว่าจะมีสักหน่วยงานหนึ่งที่เรามองไว้เข้ามาดูแลกองทุน โดยหน่วยงานที่มองไว้คือ
การมีกองทุนจะเหมือนกับการคัดเลือกคนขับรถตู้ที่มีระเบียบวินัยไปในตัวด้วย ในอนาคตเราคาดหวังว่าจะมีสักหน่วยงานหนึ่งที่เรามองไว้เข้ามาดูแลกองทุน โดยหน่วยงานที่มองไว้คือ
1. กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานนี้เน้นเชิงสงเคราะห์เป็นหลักในการให้เงินกับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ เรามองว่าน่าจะดำเนินการในการป้องกันมากขึ้น
2. หน่วยงานกองทุนอนุรักษ์พลังงานที่มีนโยบายเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานซึ่งสอดคล้องกับการรณรงค์ให้คนหันมาใช้รถโดยสารที่ปลอดภัย
3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีความเป็นไปได้แต่ต้องมีการศึกษาร่วมกันอีกที
3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีความเป็นไปได้แต่ต้องมีการศึกษาร่วมกันอีกที
4. กองทุนธุรกิจประกันภัย ที่ยังเน้นการทำงานจ่ายค่าชดเชยผู้ประสบปัญหาเมื่อเกิดอุบัติ เหตุ โดยแต่ละหน่วยงานที่ว่ามายังต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาดูแลกองทุนรถตู้โดยสาร
“สิ่งที่น่าสนใจคือประชาชนผู้ใช้บริการควรเข้ามากำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้บริการเช่น การเข้ามาเป็นคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพราะคนที่ใช้บริการจะทราบถึงปัญหาดีกว่า
“สิ่งที่น่าสนใจคือประชาชนผู้ใช้บริการควรเข้ามากำกับดูแลความปลอดภัยในการใช้บริการเช่น การเข้ามาเป็นคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เพราะคนที่ใช้บริการจะทราบถึงปัญหาดีกว่า
ขณะเดียวกันปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่จริงจังยังเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากบนท้องถนน”
ด้านผู้ผลิตรถตู้เพื่อใช้ในการโดยสารควรยื่นแบบให้กับกรมขนส่งทางบกด้วยว่า รถรุ่นการผลิตนี้สามารถมีเบาะได้กี่ที่นั่ง
ด้านผู้ผลิตรถตู้เพื่อใช้ในการโดยสารควรยื่นแบบให้กับกรมขนส่งทางบกด้วยว่า รถรุ่นการผลิตนี้สามารถมีเบาะได้กี่ที่นั่ง
เพื่อให้สอดคล้องกับเวลาผู้ประกอบการนำรถมาตรวจสภาพเพื่อยื่นขอจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินงานอย่างทันท่วงที เช่น การหยุดรถที่บรรทุกคนเกินและรถที่ขับด้วยความเร็วสูง
ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินงานอย่างทันท่วงที เช่น การหยุดรถที่บรรทุกคนเกินและรถที่ขับด้วยความเร็วสูง
ด้านผู้ประกอบการรถตู้ต้องมีส่วนร่วมสร้างมาตรการเพื่อความปลอดภัย เช่น แนะนำผู้โดยสารในการคาดเข็มขัดนิรภัย
หรือมีการกวดขันไม่ให้ขับรถมีความเร็วเกินกำหนด และคนขับต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
อนาคตต้องมีอาสาสมัครหน่วยพิทักษ์รถตู้โดยสารตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รถตู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุวิ่งอยู่บนท้องถนน ซึ่งตอนนี้มีอาสาสมัครอยู่แล้วกว่า 30 จังหวัด
รถตู้โดยสารสาธารณะยังคงเป็นปัญหาที่รัฐต้องควรเร่งทำความเข้าใจ มากกว่าจะนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงมาใช้แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
อนาคตต้องมีอาสาสมัครหน่วยพิทักษ์รถตู้โดยสารตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รถตู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุวิ่งอยู่บนท้องถนน ซึ่งตอนนี้มีอาสาสมัครอยู่แล้วกว่า 30 จังหวัด
รถตู้โดยสารสาธารณะยังคงเป็นปัญหาที่รัฐต้องควรเร่งทำความเข้าใจ มากกว่าจะนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงมาใช้แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
ซึ่งการฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้และการเข้าไปฟังปัญหาของผู้ประกอบการย่อมเป็นเรื่องที่จำเป็นไม่น้อย.
.
.
ทีมวาไรตี้ หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์