สำหรับขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการซื้อก็ว่าได้ ซึ่งการตรวจรับห้องเราควรจะตรวจเช็คอะไรบ้าง แล้วจะตรวจเช็คอย่างไร หรือบางท่านอาจจะจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาทำการตรวจรับห้องให้ แต่บางคนไม่อยากเสียค่าใช้ จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นจึงไปตรวจรับเอง โดยที่ไม่รู้ขั้นตอนและวิธีการตรวจรับที่ถูกต้อง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ซื้อ เราขอนำวิธีการตรวจรับห้องมาฝากกัน
ทำไมเราต้องทำการตรวจสอบห้องก่อนจะเซ็นต์รับ
- 1. เพื่อให้มั่นใจว่าระบบไฟฟ้าติดตั้งได้มาตรฐาน ทำงานได้อย่างดี และปลอดภัยต่อการใช้งาน
- 2. เพื่อให้มั่นใจว่าระบบประปา และสุขาภิบาล ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
- 3. เพื่อให้มั่นใจว่างานตกแต่งๆ ติดตั้งได้ครบถ้วนถูกต้อง แข็งแรง และสวยงาม หรือไม่
- 4. เพื่อให้ทราบจุดบกพร่องต่างๆ และสามารถนำข้อมูลแจ้งให้ผู้ขายทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนการโอนกรรมสิทธิ์
- 5. เพื่อลดปัญหาการซ่อมงานหลังจากย้ายเข้าไปอยู่แล้ว ซึ่งหากเซ็นต์รับห้องแล้ว อาจจะมีความยุ่งยากในการแก้ไขได้
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อตรวจรับห้อง
- 1.กระดาษ ปากกา ไว้จดรายการซ่อมแซม รวมถึงกระดาษกาว หรือกระดาษสี ใช้สำหรับแปะจุดที่ต้องการแก้ไข
- 2.สายไฟชาร์จโทรศัพท์ เพื่อทดสอบการจ่ายไฟของเต้าเสียบต่างๆ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์อื่นก็ได้ที่สามารถทดสอบการจ่ายไฟ เช่น ไขควงวัดไฟ
- 3โทรศัพท์บ้าน เพื่อทดสอบการทำงานของสายสัญญาณโทรศัพท์ว่าใช้งานได้หรือไม่
- 4.ถังน้ำ เพื่อเททดสอบความลาดเอียงของพื้นว่าจะไม่มีน้ำขัง
- 5.ลูกแก้ว เพื่อทดสอบความเรียบและความเอียงของพื้น โดยการวางลูกแก้วบนพื้น ถ้าลูกแก้วไหนไปรวมอยู่ที่เดียวกันแสดงว่าพื้นเป็นหลุมไม่เรียบเสมอกัน
- 6.ถุงเท้า เพื่อทดสอบพื้นว่าเรียบหรือไม่ โดยการเดินลากเท้าดูว่ามีสะดุด หรือพื้นไม่เรียบตรงจุดไหนบ้าง
- 7.เหรียญบาท เพื่อทดสอบพื้น โดยการเคาะเหรียญดูตามพื้นว่ามีเสียงเหมือนโพรง หรือช่องว่างใต้พื้นหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าปูนใต้พื้นไม่เต็มพื้นที่ ซึ่งจะมีผลในอนาคต ที่อาจจะเกิดการกะเทาะแตกหรือหลุดออกมาได้
- 8.ไฟฉาย ไว้ตรวจสอบในพื้นที่ที่แสงเข้าไม่ถึง เช่น ผนังฉาบปูนต้องไม่มีรอยแตก เวลาส่องกับไฟฉายจะต้องไม่เห็นรอยปูดหรือยุบ
- 9.กล้องถ่ายรูป เพื่อไว้ถ่ายรูปตรงจุดที่ต้องการแก้ไข และเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบในครั้งต่อไป ว่าครั้งที่ผ่านมาได้แก้ไขไปแล้วหรือยัง
อะไรบ้างที่เราควรจะตรวจสอบ
- 1.ตรวจสอบพื้นที่ทั่วไป เช่น ความถูกต้องพื้น, ผนัง, เฟอร์นิเจอร์, ฝ้าเพดาน, ประตู, หน้าต่าง, การทาสี, การติดวอลเปเปอร์
- 2.ตรวจสอบห้องน้ำ เช่น กระเบื้องพื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน, ประตู-หน้าต่าง, การติดตั้งสุขภัณฑ์, ตู้อาบน้ำ (Shower Box)
- 3.ตรวจสอบห้องครัว เช่น พื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน, ประตู-หน้าต่าง, เคาน์เตอร์ครัว, อ่างล้างจาน, เตาแก๊ส, เครื่องดูดควัน, ชั้นวางของ, เฟอร์นิเจอร์ Built in เป็นต้น
- 4.ตรวจสอบระเบียง เช่น , พื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน, ราวระเบียง, การระบายน้ำฝน, น้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศ และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
- 5.ตรวจสอบระบบสุขาภิบาล เช่น ระบบน้ำดี ,ระบบน้ำเสีย, ระบบน้ำทิ้ง ให้เปิด-ปิด ก๊อกน้ำทุกหัว ดูว่ามีรั่วซึมหรือไม่ สุขภัฑ์สามารถกดน้ำได้ตามปกติหรือไม่ รวมถึงสายชำระว่าฉีดได้หรือไม่ เป็นต้น
- 6.ตรวจสอบงานสถาปัตย์ เช่น งานก่อ งานฉาบ ทาสี ปูกระเบื้อง เป็นต้น
- 7.ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เช่น ตู้ควบคุมไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้า, สวิทซ์, ปลั๊ก และการตรวจสอบระบบการทำงานของเบรกเกอร์ว่าทำงานหรือไม่ โดยส่วนใหญ่เบรกเกอร์ในห้องจะถูกแยกส่วนไว้ ทั้งระบบเต้าเสียบ ระบบเตาไฟฟ้า ระบบเครื่องทำน้ำอุ่น ระบบ ดวงไฟ เป็นต้น
- 8.ตรวจสอบหลังคา ระดับฝ้า ความเรียบฝ้า
เมื่อการทำไม่เป็นไปตามสัญญาควรทำดังนี้
- สร้างไม่เหมือนหัองตัวอย่าง หรือแผ่นพับ โบว์โชว์หรือวีดิโอ โปรโมทว่าจะมีสวนสาธารณะ หรือห้องออกกำลังกายแต่พอทำเสร็จแล้วไม่มี เป็นต้น
ดังนั้นเราต้องสอบถามให้ละเอียดและเก็บโบรชัวร์เอกสารโฆษณาโครงการเอาไว้ให้หมด เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายด้วย หากเจ้าของโครงการไม่ทำตามสัญญา โดยแจ้งให้เจ้าของโครงการแก้ไข หากไม่แก้ไข เราก็เลิกสัญญาได้ - ถูกบังคับให้โอนแต่ห้องคอนโดยังไม่เรียบร้อย เราสามารถตกลงกันกับเจ้าของโครงการว่ามีจุดบกพร่องต้องแก้ไขตรงไหน ต้องแก้ภายในเมื่อไหร่ อย่างไร หากเจ้าของโครงการยังไม่แก้ไขสามารถแจ้งต่อกรมที่ดินได้ เพื่อบอกเหตุผลของการไม่รับโอน
- มีปัญหาตกลงกันไม่ได้โทรปรึกษามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่เบอร์ 022483737
ข้อมูลอ้างอิงจาก ASEANLiViNG , มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค