หนังสือ 10 ชีวิตที่ไม่อยากให้ใครต้องเป็น เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.). จำนวนผู้ชม: 9341 งานสังเคราะห์ข้อมูล กรณีศึกษาการใช้สิทธิของผู้ประสบภัยรถโดยสารสาธารณะ 10 ชีวิตที่ไม่อยากให้ใครต้องเป็น หนังสือ 10 ชีวิตที่ไม่อยากให้ใครต้องเป็น 10 ชีวิตที่ไม่อยากให้ใครต้องเป็น พิษณุ สันป่าแก้ว เขาว่าผมเป็นเจ้าบ่าวพิการ “ดูสิเจ้าบ่าวพิการด้วย” “ไม่มีปัญญาหาละมั้งเลยไปคว้าคนพิการมาแต่งงานด้วย” แขกที่มางานแต่งงานวิพากษ์วิจารณ์ คู่บ่าว – สาว เพราะแทนที่คู่บ่าว – สาว จะทำอะไรพร้อมๆกัน และนั่งอยู่เคียงกันระหว่างงานพิธี แต่ที่เห็นกลับเป็นภาพของเจ้าบ่าว ต้องนั่งไหว้พระอยู่ในรถเข็น พิษณุ สันป่าแก้ว ชายหนุ่มจากจังหวัดแพร่ อาชีพวิศวกรไฟฟ้า คือเจ้าบ่าว ของงานมงคลสมรสในวันนั้น ส่วนเจ้าสาวคือพันตำรวจตรีหญิงอุไรวรรณ แห้วนคร หญิง สาวเป็นคนจังหวัดบุรีรัมย์ และเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ ..........................................................................................................................................วรรวิสา ชักชวน ถูกงัดกะโหลกแต่เธอยังบอกว่าโชคดี “ลืมตาตื่นมาก็ปวดทันที” สำหรับ วรรวิสา ชักชวน หญิงสาววัย 27 ปี ความสดชื่นยามตื่นที่เคยมีได้จากไปตั้งแต่ เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 ระหว่างที่เธอเดินทางจากบ้านที่จังหวัดแพร่ เพื่อกลับมา ทำงานที่กรุงเทพฯในช่วงหลังสงกรานต ..........................................................................................................................................ธีรเมธ บัวเข้ม สูญเมีย เสียหู ต้องอยู่กับลูกโดยลำพัง “อยู่เฉยๆ นะพี่ อย่าขยับ” เจ้าหน้าที่กู้ภัยบอกธีรเมธ ตอนนั้นเขาทำได้เพียงกระพริบตา กรอกตาไปมา พยายามจะมองรอบๆ แต่แล้วก็ ถูกปรามอีกครั้งจากเจ้าของเสียงคนเดิม “อยู่เฉยๆ คอพี่อาจจะหัก อยู่เฉยๆก่อน” คำปรามครั้งนี้หยุดเขาได้ชะงัด แต่ในใจยังสงสัยอยู่ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วภรรยา ที่นั่งมาด้วยกันอยู่ที่ไหน ..........................................................................................................................................สุกัญญา ภาคพิทักษ์ ความพิการที่ไม่อยากจะกลืนกิน “ไม่รู้ว่ามันพลิกกี่ตลบ แต่พอมันหยุดตัวเราก็ออกมาอยู่นอกรถแล้วเพราะกระจก มันแตกไปหมด แต่ขายังติดอยู่ข้างใน ต้องค่อยๆดึงออกมา รู้สึกเจ็บที่ขาข้างขวามาก พอดึง ออกมาได้มันก็ห้อยร่องแร่งไปแล้ว คนเอะอะกันวุ่นไปหมด มีนักศึกษาผู้หญิงคนหนึ่งรถ ทับขาเขาอยู่ เสียงเขาร้องขอให้ช่วยน่าสงสารมากเลย แต่เราก็ช่วยเขาไม่ได้เพราะขาเรามัน หักห้อยอยู่” เธอเล่าเรื่องราวด้วยเสียงราบเรียบ แววตาอิดโรย เหตุการณ์ครานั้นไม่ได้จางไป จากความทรงจำแม้แต่น้อย ..........................................................................................................................................ปริณดา ปรีชาอมรกุล ราคาชีวิตที่ต้องต่อรองด้วยความจำยอม “ทางบริษัทยื่นข้อเสนอให้เราเป็น หนึ่งแสนสามหมื่น จากที่เขาเคยเสนอมา หนึ่งแสน ขึ้นมาให้เราสามหมื่น เราก็ไม่ยอมเขาก็ขึ้นเป็นหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท เราก็ไม่ยอมอีก เขาก็ขึ้นเป็นหนึ่งแสนแปดหมื่นบาท เราก็บอกเขาว่า สองคนนะที่เจ็บน่ะ (ปริณดากับลูก) แล้วก็ยังไม่รู้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกหรือเปล่า ท้ายสุดเขายื่นข้อเสนอมาให้เรา สองแสนบาท เราก็คิดว่ามันใกล้เคียงกับที่ เราเสนอ ไป เราก็ตกลงไป แต่กว่าจะตกลงกันได้ก็เกือบ 5 โมงเย็นแล้วนะ แล้วเขาก็นัดไปรับเช็ควันที่ 25 มิถุนายน 2552 เพราะว่าทางบริษัทฯต้องไปจัดการก่อน” ..........................................................................................................................................ศรีวรรณ ปวงงาม ชีวิตนี้...ขอเป็นแค่คนพิการชั่วคราวก็พอ “พี่เริ่มเข้าใจคนพิการแล้วนะว่าเขารู้สึกยังไง เหมือนไม่มีที่สำหรับพวก เขาเลยทางเดินหรือกระทั่งห้องน้ำ มันนั่งไม่ได้ มันลำบาก ขนาดเราพิการ ไม่ถาวรเรายังรู้สึกขนาดนี้ พวกเขาจะรู้สึกขนาดไหน” ศรีวรรณ ปวงงาม สาวใหญ่ร่างท้วมวัย 38 ปี คือหนึ่งในผู้บาดเจ็บสาหัสจาก อุบัติเหตุรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทสมบัติทัวร์จำกัด เฉี่ยวชนกับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ที่จังหวัดพิจิตรเมื่อเดือนมีนาคม 2551 จนขณะนี้เวลาผ่านไปปีเศษ ร่างกายของเธอ ก็ยังไม่สามารถเดินเหินได้เหมือนคนปกติทั่วไป ..........................................................................................................................................ณัฐชา ศรีประไพ ค่าชีวิตของฉันเขาจ่ายแค่ 9,700 บาท “พอรถชนปุ๊บ เรารู้สึกตัวเองตายแล้วนะ เพราะหัวแตกเลือดไหลอาบเต็มหน้า ไปหมด แล้วก็ล้มลงไปทับเพื่อนด้วย เพื่อนก็นอนนิ่ง พอได้สติก็พยายามปีนออกนอกรถ ดี นะที่น้ำในคลองมันแห้งไม่งั้นแย่เลย พอคลานออกมาได้ก็นอนพัก รู้สึกเจ็บแผลที่หัวแล้วก็ ปวดตรงสะโพกมากๆ ลุกขึ้นเดินไม่ได้ สักพักหน่วยกู้ภัยก็มาพาเราส่งโรงพยาบาลรัทรินทร์ ซึ่งคนบาดเจ็บเยอะมาก เพราะคนที่บาดเจ็บจากรถทั้งสองคันถูกส่งตัวมาที่นี่ทั้งหมดเลย พอมาถึงเราก็ต้องรอ” ..........................................................................................................................................ธงชัย สร้างแก้ว ค่าชีวิตแรงงานไทยในสายตาบริษัทประกัน “ก่อนนั้นร่างกายเราแข็งแรง แต่ตอนนี้แย่เราเหนื่อยง่าย ที่สำคัญก็คือ ไม่รู้ว่าทาง บริษัทเขาจะจ้างเราออกวันไหน เพราะเราทำงานให้เขาได้ไม่เหมือน เดิม” ธงชัย สร้างแก้ว ชายหนุ่มจากจังหวัดอุบลราชธานี วัย 32 ปี ช่างซ่อมบำรุงของบริษัท แห่งหนึ่ง ย่านนิคมอุตสหกรรมบางปู บอกถึงความกังวลที่ติดค้างในใจเขามาตลอดเวลาหลัง จากเกิดอุบัติรถชนกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 ..........................................................................................................................................ขวัญเมือง แก้วศรีงาม ชีวิตที่ถูกลงโทษเพราะความประมาทซ้ำซ้อน จะมีกี่คนที่ชีวิตเล่นตลกร้าย ซ้ำเจ้าของชีวิตนั่นแหละเป็นผู้เฝ้าดูโดย ไม่อาจกลั่นเสียงหัวเราะออกมาได้ขวัญเมือง แก้วศรีงาม ลูกจ้างร้านอาหารตาม สั่งวัย 38 ปี ที่มีรายได้เพียงแค่วันต่อวันเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีชะตาชีวิตรวมอยู่ใน กลุ่มน ..........................................................................................................................................นายอำเภอจำลอง ไกรดิษฐ์ ชีวิตของภรรยาผม ชดใช้เท่าไหร่ก็ไม่คุ้ม “เช้ามืดของวันที่ 10 ผมได้รับแจ้งจากลูกน้องว่า รถที่ไปดูงานเกิดอุบัติเหตุ ภรรยาผมได้รับบาดเจ็บ ผมรีบเดินทางไปที่เกิดเหตุทันทีระหว่างทางได้รับทราบจากผู้กำกับ สภ.ทุ่งสง ว่าภรรยาของผมที่ได้รับบาดเจ็บนั้นเสียชีวิตแล้ว เพราะว่าภรรยาผมซึ่งนั่งอยู่บน ชั้นสองหน้าสุดซ้ายมือ ขณะที่รถชนกระจกหน้ารถได้แตก ทำให้เธอกระเด็นออกไปนอกรถ และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ” พิมพ์ อีเมล ก่อนหน้า