ทุกวันนี้ เวลาเล่นเฟซบุ๊กเราจะเห็นเพจที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายเยอะมาก ทั้งอวดอ้างสรรพคุณ โฆษณาเกินจริง แถมบางครั้งยังเจอผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารอันตรายด้วย แล้วถ้าเจอเพจเหล่านี้...เราในฐานะผู้บริโภคจะทำยังไงกันดี?
วันนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อยากชวนทุกคนมาดู 7 ขั้นตอนง่ายๆในการ ‘จัดการเพจ (และโพสต์) ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย’ กัน
ขั้นตอนแรก
เข้าในหน้าเพจหรือโพสตที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย จากนั้นมองหาปุ่มที่มีจุดสามจุดแบบในรูแ แล้วคลิ้กซ้าย
ขั้นตอนที่ 2
เลือก ‘ค้นหาการสนับสนุนหรือรายงานเพจ’ หรือถ้าใครใช้เฟซบุ๊กเป็นภาษาอังกฤษให้เลือก ‘Find support or report Page’
ขั้นตอนที่ 3
เมื่อมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้เรากดเลือก ‘การขายไม่ได้รับอนุญาต’ หรือ ‘Unauthorized Sales’
ขั้นตอนที่ 4
พอเลือกเสร็จจะมีหน้าต่างที่เด้งขยายลงมาข้างล่าง ให้เราเลือก ‘การขายยาแพทย์สั่ง’ หรือ ‘Selling Prescription Pharmaceutical’
-
แต่ถ้าเป็นโพสต์ ให้กดเลือก ‘อื่นๆ’ หรือ ‘Something Else’ แล้วกดถัดไป เฟซบุ๊กจะพาเราไปที่หน้าต่างยืนยันการรายงาน ก็ให้ทำตามขั้นตอนที่ 6 และ 7 ได้เลย
ขั้นตอนที่ 5
พอขึ้นหน้าต่างนี้อย่าเพิ่งกด เรียบร้อย นะ ให้เราสังเกตตรงขั้นตอนอื่นๆ ที่เราสามารถทำได้ (Other step you can take) จะมีคำว่า ‘รายงานเพจ’ หรือ ‘Report Page’ อยู่ ก็คลิ้กเลย
ขั้นตอนที่ 6
จะมีหน้าต่างยืนยันการรายงานเพจ (Report Confirmation) ให้เราติ๊กถูกหลังกล่องสีเหลี่ยมหลังข้อความ ‘ฉันเชื่อว่าเนื้อหานี้ขัดต่อมาตรฐานชุมชนของ Facebook’ หรือ ‘I believe that this goes against Facebook’s Community Standards’ แล้วกดรายงานเพจ
และ ขั้นตอนสุดท้าย
กดปุ่ม เรียบร้อย ก็เป็นอันเสร็จ
-
นอกจากจะทำตาม 7 ขั้นตอนที่อยู่ในอินโฟกราฟิกชุดนี้แล้ว เรายังมีเคล็ด (ไม่) ลับที่ทำให้การรีพอร์ตของเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย คือ
1) หลังจากพบเพจขายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย และรีพอร์ตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราบอกต่อหรือแชร์ให้คนอื่นๆ ช่วยรีพอร์ตด้วย เพราะการที่คนหลายๆ คนรีพอร์ตในระยะเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่เฟซบุ๊กจะเห็น พิจารณา และดำเนินการกับเพจนั้น
2) ควรมีปฏิสัมพันธ์กับโฆษณาในเฟซบุ๊กที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายบ่อยๆ เพราะการที่เราไปกดไลก์ คอมเมนต์หรือแม้แต่คลิ้กเข้าไปดู จะทำให้ผู้โฆษณาต้องจ่ายค่าโฆษณามากขึ้น นอกจากนี้ เฟซบุ๊กก็จะเลือกโฆษณาที่คล้ายๆ กันมาให้เรา ซึ่งทำให้เรามีโอกาสพบเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายได้ง่ายขึ้นด้วย
3) เมื่อรายงานเพจ ต้องรายงานให้ถึงฝ่ายตรวจสอบ หากรีพอร์ตครั้งแรกไม่ได้ผลก็อย่าเพิ่งท้อ เพราะฝ่ายตรวจสอบมีหลายคนจึงมีมาตรฐานที่ไม่เท่ากัน เห็นได้จากการรายงานเพจหรือโพสต์ในเฟซบุ๊ก แต่บางวันรายงานเพจเดียวกันฝ่ายตรวจสอบก็ดำเนินการลบเพจหรือโพสต์นั้น
4) ใช้โปรไฟล์ที่น่าเชื่อถือในการรายงาน ควรใช้ไอดีที่ใช้งานมานาน มีชื่อแสดงตัวตนชัดเจน เพื่อให้ฝ่ายตรวจสอบทราบว่าไม่ใช่การกลั่นแกล้ง หรือสร้างเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมาเพื่อผิดเพจผู้อื่น
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ภก.ธีรชัย เรืองบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร