โปรดทวงหนี้...อย่างมีมารยาท

580605 monney
จากปัญหาการร้องเรียนพฤติกรรมของเจ้าหนี้และคนที่ติดตามหนี้มีมากมาย เช่น การข่มขู่ การประจาน ทวงหนี้ไม่เป็นเวลา ทวงหนี้กับญาติพี่น้อง ฯลฯ สร้างแรงกดดันให้ลูกหนี้ ทั้ง หน่วยงานกำกับดูแล

ก็ยังไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการติดตามทวงถามหนี้ ได้ หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้หยิบร่าง พ.ร.บ. ทวงถามหนี้ พ.ศ. .. มาปัดฝุ่นใหม่ ส่งให้สภานิติบัญญัติไปแก้ไขร่างให้ครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบเมื่อเดือนสิงหาคม 57 หลังจากที่รอคอยกันมาหลายปี คงต้องนับถอยหลังจากวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 ไปอีก 180 วัน "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558" จะมีผลบังคับใช้  ในเดือนกันยายน 2558 ที่ควบคุมพฤติกรรมของเจ้าหนี้และคนติดตามทวงหนี้ ลูกหนี้ที่รอคอยกฎหมายฉบับนี้คงได้เฮ กันอย่างถ้วนหน้า ที่จะเห็นคนติดตามทวงหนี้มีมารยาทดีขึ้น

องค์กรผู้บริโภคเห็นดีมี พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้
54646152นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงพฤติกรรมของคนติดตามทวงหนี้ว่าดีขึ้น และ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ส่งผลดีลูกหนี้

"ก่อนหน้านั้นลูกหนี้ทั้งในระบบและหนี้นอกระบบร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคตั้งแต่ปี 2553 -มิถุนายน 2557 ในปี 2553 สถิติการร้องเรียน 381 ราย ปี 2554 จำนวน 424 ราย ปี 2555 จำนวน 287 รายปี 2556 จำนวน 321 ราย และจากต้นปี และ ปี 2557 จำนวน 362 ราย พบกว่ามีการทวงหนี้ทั้งการข่มขู่ ทวงกับญาติ พ่อแม่ ประจาน มาดักรอหน้าบ้าน แอบอ้างเป็นตำรวจโดยการแต่งตัวเลียนแบบ ฯลฯ ยิ่งการทวงหนี้นอกระบบมีการกดดันในรูปแบบต่างๆ จนทำให้ลูกหนี้กลัว ตามที่เป็นข่าว ฆ่าตัวตาย เผาตัวเอง

การมี พ.ร.บ.ทวงหนี้จะช่วยให้ลูกหนี้ตรวจสอบได้ว่าคนที่ติดตามหนี้นั้นได้รับสิทธิจริง เพราะต้องมีหลักฐานแสดงเวลาติดตามทวงหนี้ พูดปากเปล่าไม่ได้ การข่มขู่คุกคามลูกหนี้ หรือญาติของลูกหนี้ จะได้รับการดูแล โดยเฉพาะการรับเรื่องร้องเรียน เป็นหน้าที่ของตำรวจโดยตรง ซึ่งที่ร้องเรียนได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่งและที่ว่าการอำเภอกฎหมายฉบับนี้ออกมามีเจตนาเพื่อควบคุมพฤติกรรม ของผู้ทวงถามหนี้ เท่านั้น มิได้ครอบคลุมเรื่องการชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ไปกู้ยืมเงิน ต้องมีหน้าที่ชำระหนี้ตามปกติ หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้มิสิทธิที่จะดำเนินการฟ้องร้อง เรียกหนี้สินคืนได้"

กลุ่มปัญหา

ปี 2553

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

บัตรเครดิต

308

239

207

271

278

ธุรกิจเช่าซื้อ

42

54

26

21

34

ธนาคาร

18

27

22

11

16

สินเชื่อส่วนบุคคล

3

92

30

14

23

หนี้นอกระบบ

10

12

2

4

11

รวม

381

424

287

321

362


สถิติการร้องเรียนหมวดการเงินการธนาคาร ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคปี 2553 – 2557


หลักการสำคัญของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

ขอบเขตการใช้บังคับ
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อทั้งนี้ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตามและให้รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าวผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ให้สินเชื่อในการทวงหนี้

กำหนดให้มีการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย หากเป็นทนายความให้ดำเนินการจดทะเบียนได้ที่สภาทนายความ

การติดตามทวงถามหนี้
1.ห้ามมิให้ผู้ทวงถามหนี้ ติดต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ทวงได้เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเท่านั้นเว้นแต่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานที่ติดต่อลูกหนี้

2.ห้ามมิให้ผู้ทวงถามหนี้ใช้ความรุนแรง ใช้วาจา หรือภาษาดูหมิ่นถากถาง เสียดสีหรือเปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

3.ห้ามติดตามทวงหนี้เกินสมควรแก่เหตุ รวมถึงการติดต่อทางโทรศัพท์วันละหลายครั้ง และก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ

4.ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

5.ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้

6.ห้ามมิให้ผู้ทวงถามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการติดตามทวงหนี้ เช่นทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี รัฐ หน่วยงานของรัฐทนายความ หรือสำนักงานกฎหมายหรือทำให้เชื่อว่าหากไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดีถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน หรือข่มขู่ว่าจะดำเนินการใดๆ

7.ห้ามไม่ให้ผู้ทวงถามหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใดๆหรือการเสนอจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

ข้อปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้
1.ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น

2. หากติดต่อไม่ได้ให้ถือเอาสถานที่ติดต่ออื่นเป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการติดต่อได้ เช่นตามภูมิลําเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทํางาน เป็นต้น

3. การติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือติดต่อบุคคลสำหรับวันทำการให้ติดต่อได้ในเวลา 08.00-20.00 น.ส่วนวันหยุดราชการติดต่อได้ในเวลา 08.00-18.00 น.เว้นแต่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร

บทกำหนดโทษ
1. โทษทางปกครองจะถูกปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ตามมาตรา 24

2. โทษทางอาญาจะถูกเพิกถอนการจดทะเบียน และจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่าน พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้  http://goo.gl/9NZYCF

เรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลและสื่อสารมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

พิมพ์ อีเมล