เครือข่ายองค์ผู้บริโภค ย้ำการประมูล 3.9G ต้องเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภค

Consumerthai - เครือข่ายองค์ผู้บริโภค แถลงจุดยืนการประมูล  3.9G and Beyond ต้องกำหนดกติกาให้มีการคุ้มครองผู้บริโภค ชี้ราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท และประมูลเพียง 2 ใบ รัฐและประชาชนได้ประโยชน์

วันนี้ 22 มิ.ย. 53 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจัดแถลงถึงจุดยืนการประมูล 3.9G ณ สำนักงานชั่วคราวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เซ็นจูรี่ พลาซ่า ชั้น 6 โดยมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายนิมิตร์ เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นางสาวสุภิญญา  กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ(คปส.) และนายกำชัยน้อย  บรรจงค์ เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี ร่วมแถลงข่าว

ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้เร่งผลักดันให้เกิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G โดยมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของร่างประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMTย่าน 2.1 GHz นั่นคือ ให้มีการประมูลใบอนุญาตเทคโนโลยี 3.9G แทน 3G และมีจำนวนใบอนุญาต 3 ใบๆ ละ 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตพร้อมกันในราคาประมูลเริ่มต้นที่ 10,000 ล้านบาท ใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปี และยังกำหนดว่าผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดแบ่งโครงข่ายไว้ให้ผู้ประกอบการรายย่อย (MVNO) เช่าไม่น้อยกว่า 40% ของโครงข่ายที่มีทั้งหมด แต่ MVNO สามารถเจรจาเช่าใช้โครงข่ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตได้เพียงรายเดียว และตั้งเป้าว่าจะดำเนินการออกใบอนุญาตให้ได้ภายในเดือนกันยายนปีนี้ และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวันที่ 25 มิถุนายนนี้

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า “รู้สึกกังวลเกรงว่าจะมีมวยล้ม ต้มคนดู ถึงแม้จะมีการเปิดให้ผู้ประกอบการรายย่อย (MVNO) ก็อาจจะมีผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาประมูลจริงๆ อย่างเช่น  กศท.มีสิทธิเข้ามาประมูล แต่อาจจะไม่ได้เข้ามาประมูล และผู้ประกอบการรายย่อยที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีความหมาย เพราะฉะนั้นการแข่งขันที่ กทช.ตั้งใจจะให้เกิดขึ้นนั้น ก็ไม่น่าจะเป็นคำตอบเท่าไร ทางเครือข่ายผู้บริโภคจึงเสนอให้มีใบอนุญาตเพียง 2 ใบก่อนในเบื้องต้นเพื่อให้เกิดการแข่งขันกันจริงๆ” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว

พร้อมกล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นระยะเวลาการให้ใบอนุญาตว่า ระยะเวลา 15 ปีนั้นนานไป ซึ่งตนและเครือข่ายเกรงว่าจะไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน จึงควรจะอยู่ที่ ควรจะอยู่ที่ 10 ปีเท่านั้น ถึงแม้ กทช.จะชี้แจ้งว่าระยะเวลา 10 ปีนั้น จะขัดต่อประกาศแต่ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกฎหมาย

“กฎหมายไม่ได้ห้ามการให้ใบอนุญาตที่ 10 เพราะฉะนั้นคิดว่า กทช.น่าจะคิดถึงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและระยะเวลาการให้ใบอนุญาติที่ยาวนานเกินไปนั้น กลับจะตกเป็นภาระให้กับคนประเทศโดยรวมต่อไป”

นอกจากนี้นางสาวสารี ยังกล่าวถึงราคาในการประมูลใบอนุญาติว่าอยากให้ราคาตั้งต้นอยู่ 20,000 ล้านบาทราคาประมูลเริ่มต้นที่ 20,000 ล้านบาทนั้นมาจากตัวเลขอะไร ขอบอกว่าขณะนี้บริษัทใหญ่สามารถกำไรได้ถึง 40,000 ล้านต่อปี เพราะฉะนั้นหากคิดเพียง 10,000 ล้านบาท รัฐจะไม่คุ้ม

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือระยะเวลาในการยื่นซองเข้าประมูลเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นระยะเวลา 90 วัน  มากกว่าจะเป็นแค่ 30 วัน “เราจะเห็นว่าบริษัทต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติก็น่าจะเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆเข้ามายื่นไม่ว่าจะเป็น AIS Dtac เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น” นางสาวสารี กล่าว

นอกจากประเด็นการประมูลดังกล่าวแล้วทางเครือข่ายผู้บริโภคได้เสนอเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภคในการประมูล 3 G ครั้งนี้อยากให้ทาง กทช.เขียนเป็นกติกาให้กับบริษัทที่ได้รับอนุญาต ต้องนำไปดำเนินการในการคุ้มครองผู้บริโภค ประเด็นหลักๆ ที่จะเสนอต่อ กทช. ประกอบด้วย การกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต 3.9จี จัดทำเลขหมายรับเรื่องร้องเรียน 4 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นเลขหมาย 7 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วต้องเสียค่าใช้จ่าย การจัดการปัญหาส่งข้อความสั้น(เอสเอ็มเอส) เพื่อโฆษณา โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการไม่สามารถส่งเอสเอ็มเอสโฆษณาไปยังเลยหมายของผู้ บริโภคได้ หากผู้บริโภคไม่เต็มใจหรือยินยอม เพื่อแก้ปัญหาเอสเอ็มเอสกวนใจ การไม่คิดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนโปรโมชั่น และการไม่ต้องกำหนดวันหมดอายุของการใช้งานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน.

พิมพ์ อีเมล