เครือข่ายปฏิรูปพลังงงาน เสนอทางออกฝ่าวิกฤตพลังงาน

580604 newspowver1
www.indyconsumers.org 3 มิ.ย. 58 เครือข่ายชาชาชนปฏิรูปพลังงานไทย เสนอรัฐใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 44 เพื่อป้องกันมิให้ประเทศไทยขาดแคลนพลังงาน พร้อมทำกฎหมายใหม่ และปรับโครงสร้างราคาพลังงาน นต.ประสงค์ สุ่นศิริ เผย 3 ข้อเสนอรัฐบาลฝ่าวิกฤติพลังงาน ได้แก่ 1.การทำงานต้องมีความคล่องตัวมากขึ้น 3 ทางคือ การใช้สัมปทาน การแบ่งปันผลผลิต และการจ้างให้มีการผลิต ซึ่งทั้งสามทางเลือกมีกฎหมายกำหนดเงื่อนไขอย่างชัดเจน 2.แก้ไขหลักการขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิด AEC และ 3.แก้ไขกฎหมายโดยใช้ร่างของประชาชน

นำโดย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายธีระชัย ภูวนารุนรานุบาล นายนพ สัตยาศัย นายปานเทพ พันพงษ์พันธ์ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และนายคมสัน โพธิ์คง แถลง “การจัดการแปลงปิโตรเลียมที่จะหมดอายุสัมปทานเพื่อให้ประเทศไทยพ้นวิกฤต พลังงาน”

น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ กล่าวว่ากฎหมายที่คณะภาคประชาชนร่างกันขึ้น มาใหม่นั้น เรื่องสิทธิของประชาชนจะมีมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในกฎหมายฉบับใด ที่ผ่านๆ มาแม้กระทั่งกฎหมายปิโตรเลียม ผลประโยชน์ของประชาชนคือผลประโยชน์ของประเทศชาติ

ด้าน นายปานเทพ พันพงษ์พันธ์ กล่าวว่า จากรณีที่ คณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) ได้วางกรอบแนวทางศึกษารูปแบบการพิจารณาแปลงสัมปทานปิโตรเลียม ที่รัฐบาลได้ให้ความเป็นชอบแก่ผู้รับสัมปทานหลายบริษัท ในแหล่งปิโตรเลียมบงกชและเอราวัณ ภายใต้ พรบ.ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งได้ต่ออายุสัมปทานครั้งสุดท้ายไปแล้ว จึงไม่สามารถต่ออายุสัมปทานได้อีกตามกฎหมาย และสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในปี 2565 และ 2566 เป็นที่น่าสังเกตว่า การต่อสัญญาเมื่อปี 2550 ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้รัฐบาลสามารถเข้าพื้นที่เพื่อทำการแทนหรือ ทำการโอนถ่ายการผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นสุดอายุการต่อสัญญาได้ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ก่อนสินสุดสัญญา ทำให้การผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและบงกชขาดช่วงจนเกิดวิกฤติขาดแคลน พลังงานได้ ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศในราคาแพง สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการวางแผนการบริหาร จัดการพลังงานที่ดี

“กระทรวงพลังงานเองก็ยอมรับอย่างเปิดเผยแล้วว่าหลังหมดอายุสัมปทานลง แปลงปิโตรเลียมทั้งแหล่งเอราวัณและบงกชยังคงมีศักยภาพผลิตปิโตรเลียมได้อีก อย่างน้อย 10 ปี ดังนั้นหากรัฐบาลยอมจำนนหรือถูกกดดันให้ตัดสินใจจะทำให้ประเทศไทยขาดโอกาส ที่จะเปิดประมูลเพื่อจ้างเอกชนผลิตปิโตรเลียมหลังหมดอายุสัมปทานในแปลงที่ ได้มีการผลิตปิโตรเลียมอยู่จริงในปัจจุบันและมีศักยภาพสูงในอนาคตเพื่อให้ ปิโตรเลียมเหล่านั้นตกเป็นสมบัตริของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง” นายปานเทพ กล่าว

เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ได้เสนอแนวทางในการหาทางออกให้กับประเทศไทยว่า 1.ให้รัฐบาลเสนอ คสช.ใช้มาตรา 44 กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลแข่งขันผลตอบแทนสูงสุดให้แก่รัฐในการผลิต ปิโตรเลียมโดยใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเฉพาะแปลงที่มีศักยภาพตามรายงาน ของกระทรวงพลังงาน เพื่อเพิ่มหลักประกันว่าประเทศไทยจะมีการผลิตก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นในเวลา ใกล้เคียงกันกับการหมดอายุสัมปทานในปี 2565 และ 2566

2.มาตรา 44 ตามข้อ 1 ให้ผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูลจะต้องปรับปรุงเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานเดิมของ บริษัทในกลุ่มของตนทุกบริษัท เพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปได้โดยไม่ลดผลผลิตหรือขาดตอน ให้อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องจักรทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐโดย ปราศจากการครอบครองแลการรอนสิทธิใดๆ

3.รัฐบาลในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สั่งให้ บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) แก้ไขสัญญาให้รัฐบาลสามารถเข้าไปในพื้นที่และถ่ายโอนสิทธิและทรัพย์สินการ ผลิตปิโตรเลียมให้รัฐบาลก่อนล่วงหน้า 5 ปี

4.ให้นายกรัฐมนตรีสั่งให้กระทรางพลังงานปรับปรุงนโยบายอุดหนุนราคาการรับ ซื้อพลังงานหมุนเวียนทุกระบบให้เท่ากับหมด และให้ยกเลิกกรอบจำกัดหรือเป้าหมายการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียในแต่ละประเภท เพื่อให้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมีประเภทที่มีต้นทุนถูกที่สุดได้รับการ พัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติและมีการแข่งขันตามกลไกตลาดเสรีอย่างเต็มที่ ให้เพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (ADDER) ทุกระบบเริ่มต้นจาก 1.50 บาทต่อหน่วยไฟฟ้า

5.ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ให้มีการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมมีความโปร่งใส ชอบธรรมเป็นธรรมแก่ประชาชนในการใช้พลังงาน รวมทั้งทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานของชาติ ซึ่งเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงายไทยได้จัดทำร่าง พรบ.ประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. .... ไปประกอบเปรียบเทียบกับร่าง พรบ.ปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน โดยการทำประชาพิจารณ์ และส่งต่อให้ สนช.ให้ความเห็นชอบตราเป็นพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่อไป

6.ตามที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยได้ทำหนังสือยื่นข้อเสนอถึง นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 58 แต่กลับไม่ได้มีการตอบสนองตามข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรม จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแสดงความจริงใจ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในความโปรงใสและเป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จะเข้ายื่อหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำส่งข้อเสนอการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในอีก 6 ปี ข้างหน้า ในวันที่ 4 มิ.ย. 58 เวลา 9.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ฝั่ง กพร.

พิมพ์ อีเมล