สพฉ. ตั้งอนุกรรมการฯ ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้ได้รักษาฟรี

http://img.ryt9.net/www/350x900s/files/20150526/iq47d17cdfdfe3bcfdaf37d863309efc74.jpgสพฉ. ตั้งอนุกรรมการฯ ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติให้ได้รักษาฟรีตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” เสนอครม.ของบสนับสนุน 1,000 ล้านบาท พร้อมจัดทีมแพทย์ประจำเพื่อให้คำปรึกษาและและแก้ปัญหาการคัดแยกให้มีความรวด เร็วมากยิ่งขึ้น
กรุงเทพฯ--26 พ.ค.--สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เกี่ยวกับโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และความคืบหน้าตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์” ว่าที่ประชุม ได้เตรียมนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงแนวทางในการจัดการโดยจะให้สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งเบื้องต้นได้เสนอของบประมาณในสนับสนุนโครงการนี้ 1,000 ล้านบาท และ กพฉ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน มาเพื่อรับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ ให้เป็นเอกภาพ รวมถึงการเจรจาต่อรองค่ารักษาพยาบาลกับทั้ง 3 กองทุน และภาคเอกชนด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้ารับรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์”

ส่วนกรณีที่หลายโรงพยาบาลมีข้อขัดแย้งเรื่องการรับรักษาประชาชนเนื่อง จากเห็นว่าไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤตินั้น สพฉ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการ ปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิด ภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษา ภายใน 0-4 นาที

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับอาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้

1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
2.การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
3.ระบบหายใจมีอาการดังนี้ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
4.ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
5.อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก

อย่างไรก็ตามหากเกิดกรณีความขัดแย้งหรือมีข้อสงสัย โรงพยาบาลเอกชนสามารถสอบถามเข้ามาได้โดยตรงที่สพฉ. ซึ่งได้จัดทีมแพทย์ให้ประจำการเพื่อให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการคัดแยกให้มี ความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์กับประชาชนด้วยว่าอาการใดบ้างคืออาการฉุก เฉินวิกฤติ เนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาความเข้าใจผิด

ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiPR.net -- อังคารที่ 26 พฤษภาคม 2558

พิมพ์ อีเมล