เครือข่ายขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน สนับสนุน สสส.

เขียนโดย ศูนย์ข่าวผู้บริโภค. จำนวนผู้ชม: 10206

581022 news
22 ต.ค. 58 เครือข่ายขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน  “สนับสนุนให้ นิยามการเสริมสร้างสุขภาพของ สสส.ยึดตามกฏหมายปัจจุบัน  และให้ สสส.เป็นกลไกอิสระ ที่ตรวจสอบได้ อย่างมีมาตรฐาน มีส่วนร่วม”


รายละเอียดแถลงการณ์
ตามที่ขณะนี้ หลายฝ่ายได้ดำเนินการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณ และจะให้มีการแก้ไขกฎระเบียบของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อีกทั้งมีกระแสข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับการดำเนินงานของ สสส. ทั้งด้านบวกและลบอย่างกว้างขวางนั้น

เครือข่ายสร้างสุขภาพภาคประชาชน ประกอบด้วยองค์กรภาคสังคมด้านการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่ม เด็ก ครอบครัว สตรี คนพิการ แรงงานนอกระบบ ผู้บริโภค คนจนเมืองและชนบท กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ ได้ดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสังคมมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 20-30 ปี และเมื่อกำเนิด สสส.ขึ้นในสังคม จึงได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพกับเครือข่ายของสสส.อย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์และบทเรียนในการทำงานกับ สสส.ทำให้พบว่า สสส.เป็นองค์กรนวตกรรมของสังคมไทย โดยเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดยุทธศาสตร์แนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของสังคมที่ซับซ้อนและสะสมมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มต่างๆที่หลากหลายที่กลไกภาครัฐเข้าไม่ถึง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืนด้วยตนเอง ซึ่งปรากฏผลลัพธ์ผลสำเร็จในหลายกรณีตามการรายงานของสื่อสารมวลชนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ดังนั้นเครือข่าย จึงมีข้อเสนอต่อสังคมในประเด็น สสส .ดังต่อไปนี้

1) ขอสนับสนุน ให้การดำเนินงานของสสส. มีขอบเขตการเสริมสร้างสุขภาพ ตามนิยามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ซึ่งหมายถึง “การใด ๆ ที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาว และคุณภาพชีวิตที่ดี” ทั้งนี้เนื่องจากนิยามดังกล่าว สะท้อนแนวคิดสุขภาพแบบองค์รวม ที่ทั่วโลกยอมรับ เช่น การประเมินผล 10 ปี สสส. โดยองค์การอนามัยโลก( WHO) และธนาคารโลก ชื่นชมการทำงานของ สสส. และขอให้เป็นต้นแบบขยายผลไปยังประเทศอื่นๆด้วย และจากบทเรียนของเครือข่ายที่ทำงานด้านนี้อย่างยาวนาน พบว่าสามารถคลี่คลายปัญหาสุขภาพที่มีความซับซ้อนอย่างได้ผล

2) ขอสนับสนุนหลักการที่ให้ สสส. และองค์กรอิสระอื่นๆ เป็นองค์กรที่มีธรรมาธิบาล ตรวจสอบได้ โดยกลไกและกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการของ สสส. และองค์กรเหล่านั้น ก็ต้องเป็นไปอย่างมีระบบ มีมาตรฐาน มีขั้นตอนที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยต้องไม่เลือกปฏิบัติ เปิดเผย โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล ที่สำคัญยิ่งจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกตรวจสอบและผู้เกี่ยวข้องได้แก่เครือข่ายต่างๆ ซึ่งทำงานเกี่ยวกับสุขภาพอยู่ทั่วประเทศได้มีโอกาสได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการชี้แจงให้ข้อมูลอย่างเป็นธรรม และต้องให้สังคมได้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อเท็จจริงด้วย

3) สสส. คือ องค์กรที่เป็นกลไกอิสระ เป็นบทพิสูนจ์ว่าได้สร้างนวัตกรรมทางสังคมมากมาย สสส. คือ กองทุนของภาคประชาสังคม แม้ว่าจะมีการปรับปรุงการทำงานของ สสส. ให้มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานพึงกระทำอยู่แล้ว แต่ควรคงไว้ซึ่งหลักการและเจตนารมณ์การทำงานของ สสส. ที่เป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และให้มีความเป็นอิสระควบคู่กับกลไกการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน โดยมีข้อมูลวิชาการที่เชื่อถือได้รองรับ และที่สำคัญให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

เครือข่ายตระหนักว่า สสส. เป็นกองทุนของประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางอนาคตการดำเนินงานของ สสส.เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง

22 ตุลาคม 2558 :: เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายองค์กรผู้หญิง เครือข่ายองค์กรด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เครือข่ายเกษตรพันธะสัญญา เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ เครือข่ายศาสนา เครือข่ายประกันสังคม คนทำงานเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน เครือข่ายพุทธิกา และเครือข่ายสุขภาวะทางเพ

พิมพ์