พบ... ดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี เกือบ 100% โฆษณาสวย-หล่อ ผิดกฎหมาย ! เครือข่ายผู้บริโภคเตือน รักอย่างมีสติ

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.). จำนวนผู้ชม: 4173

 

ffc news 580213-01

 

วานนี้ (13 ก.พ.58) ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด เสนอผลโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557 พบเกือบ 100% โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย เนื้อหาบ่งบอกถึง การลดน้ำหนัก – ลดความอ้วน ขาว-สวย-ใส และรักษา-บำบัด-ป้องกัน สารพัดโรคตั้งแต่หัวจรดเท้า

           นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า "ในจำนวนโทรทัศน์ดาวเทียม-เคเบิ้ล 18 ช่อง พบแล้ว 17 ช่อง ที่โฆษณาผิดกฎหมายและเป็นช่องที่กสทช. เคยสั่งปรับไปแล้ว 5 ช่อง ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ไทยมุสลิม (TMTV) , ทีวีมุสลิมไทยแลนด์ , มีคุณทีวี , เอชพลัส (H+) และช่อง 8 (8 Channel : ดิจิตอลทีวี) ส่วนช่องที่เหลือ ก็พบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดหมาย จำนวน 85 ผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เคยถูก กสทช.สั่งปรับ"

           "ในส่วนของผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก พบว่าการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายจำนวน 95 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นอาหาร 55 รายการ พบเป็นกลุ่มโฆษณาว่ารักษา บำบัด บรรเทา และป้องกันโรคได้ กลุ่มเครื่องสำอาง 29 รายการ แบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่มคือ โฆษณาว่าทำให้ ขาว – สวย – ดูอ่อนเยาว์ กับกลุ่มรักษาได้ เช่น สิว ฝ้า ทำให้ผมดกดำ เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ยาจำนวน 11 รายการ สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ ยารักษาสารพัดโรค กับยาลดความอ้วน" นายสุนทร สุริโย กล่าว


           คำกล่าวของโฆษณา ซึ่งเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ผู้ประกอบการนั้นมีวิธีหลากหลายรูปแบบในการโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคนั้นหลงเชื่อ  นางสาวสิรินนา เพชรรัตน์ ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวถึง วิธีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายมีหลายรูปแบบ ได้แก่

           ดังนั้นผู้บริโภคต้องระวังและมีสติอย่างมากในขณะรับชมรายการ หรือโฆษณาประเภทนี้ เพราะโฆษณาต่างๆเหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินจริง บางกลุ่มขาดการรักษาที่เหมาะสม ขั้นถึงกับเสียเงิน เสียทอง จนสุดท้ายเสียชีวิต

           นางสาวสิรินนา กล่าวต่อว่า "ช่วงนี้จะเข้าเทศกาลวาเลนไทน์ การมอบสิ่งสิ่งดีให้แก่คนรัก ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่คำพูดของโฆษณาบางกลุ่ม ที่กล่าวว่า “ดูแลคนที่คุณรัก ด้วย...” ทางโครงการฯ อยากให้ข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลักในการพิจารณาก่อนเลือกซื้อสินค้ากลุ่มอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพไว้ 3 ข้อ ดังนี้

         

           ทาง นางสาวจินตนา ศรีนุเดช สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า "จากปัญหาที่พบในการเฝ้าระวัง เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคขอเสนอแนวทางในการกำกับดูแลและมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้

    1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมาย สั่งระงับโฆษณา
      เช่น (อย.) มีอำนวจตรวจสอบและออกคำสั่งให้ระงับการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้โฆษณา และผู้รับผิดชอบสื่อโฆษณา (กสทช.) มีอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบและออกคำสั่งให้ระงับการดำเนินการลงโทษขั้นสูงสุดกับผู้ประกอบการที่มีการกระทำความผิดซ้ำซาก

    2. ปรับปรุงบทกำหนดโทษ ให้เพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำผิด ตาม พ.ร.บ.อาหาร และ พ.ร.บ.ยา ให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

    3. เร่งรัดการจัดทำระบบฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาอาหาร และเปิดให้สาธารณะเข้าถึงได้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าโฆษณานั้น ได้รับการอนุญาตหรือไม่ รวมถึงการแสดงข้อมูลโฆษณาต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย และการดำเนินคดีสิ้นสุดแล้ว เพื่อประโยชน์ในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค

    4. กสทช. ควรดำเนินการหรือส่งเสริมให้เกิดการดูแลกันเองที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ ทั้ง ทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี และดิจิตอลทีวี "

          นางสาวจินตนา กล่าวอีกว่า "โครงการฯ โดยแต่ละพื้นที่ได้ดำเนินการส่งข้อมูลการเฝ้าระวังนี้ ให้กับ กสทช. อย. และสสจ. ของแต่ละจังหวัด ส่วนกลางจะดำเนินการขอยื่นหนังสือเป็นทางการกับ สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย"

 

รายชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายแบ่งตามประเภทและเนื้อการโฆษณา

   
   กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 56 ผลิตภัณฑ์

 

   กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำนวน 29 ผลิตภัณฑ์

   กลุ่มผลิตภัณฑ์ยา จำนวน 11 ผลิตภัณฑ์


 

พิมพ์