กลไกตลาดพลังงานถูกทำลาย‏

เขียนโดย หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระ. จำนวนผู้ชม: 7324

  1. ธุรกิจน้ำมัน

1.1 การถือหุ้นใหญ่ในโรงกลั่น 5 ใน 6โรง ควบคุมกำลังการกลั่นเกือบ 90%ของประเทศ ปตท จึงควบคุมทั้ง 5 โรงกลั่นผ่านคณะกรรมการบริษัทได้ ส่งผลกระทบ คือ

 

-  ทำให้สามารถครอบงำตลาดการกลั่นน้ำมัน และกำหนดค่าการกลั่นสูงกว่าโรงกลั่นสิงคโปร์โดยบวกค่าโสหุ้ย ค่าประกัน เสมือนการนำเข้าจากสิงคโปร์ ทั้งที่กลั่นที่ศรีราชาและระยอง

-  กำหนดค่าการตลาดให้สูงหรือต่ำตามต้องการ เช่น น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ที่ประชาชนใช้ลดลงอย่างมากแต่ค่าการตลาดกลับสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ จาก 1 บาทกลายเป็น 5-7 บาทในปัจจุบัน ซึ่งขัดกับหลักเศรษฐศาสตร์อย่างมาก (ของที่มีความต้องการน้อยลงจะไม่สามารถเพิ่มอัตรากำไรได้ Margin ได้หลายร้อยเปอร์เซ็นต์)

-   เมื่อควบโรกลั่นและค่าการตลาดได้ ก็สามารถบีบปั๊มค้าปลีกยี่ห้ออื่นให้ปิดกิจการเป็นจำนวนมาก โดยตั้งค่าการตลาดให้ติดลบในช่วงปี 48-50 ซึ่งก็คือการดั๊มตลาดนั้นเอง ทำให้ปั๊มที่ไม่มีโรงกลั่นหนุนหลังอย่าง ปตท ต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก เช่น Jet Mobil Q8 BP ส่งผลให้ปั๊มค้าปลีกยี่ห้ออื่นไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป ทำให้น้ำมันทุกปั๊มราคาแพงเท่ากันหมดซึ่งขัดกับหลักการแข่งขันเสรีเช่นในสหรัฐฯที่แต่ละปั๊มจะราคาแตกต่างกัน การทำลายการแข่งขันนี้ทำให้ ปตท สามารถกำหนดค่าการตลาดได้สูงกว่าที่ควรเป็นคือจาก 1 บาท  กลายเป็น 2 - 12.50 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

1.2 ปตท ผูกขาดการซื้อน้ำมันดิบให้กับโรงกลั่น โดยจะซื้อระยะยาว(Contract Price) ซึ่งถูกกว่าราคาตลาดจร(Spot Price) การอ้างราคาตลาดจรจึงเป็นเหตุผลเพื่อสูบเงินจากกระเป๋าผู้บริโภคเท่านั้นเพราะมิใช่ต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น หากไม่มีการผูกขาดโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นที่ซื้อน้ำมันดิบได้ถูกจะขายให้ผู้บริโภคได้ถูกกว่าซึ่งเป็นไปตามหลักกลไกตลาด แต่ตอนนี้ราคาหน้าโรงกลั่นทุกโรงราคาเท่ากันแสดงให้เห็นว่ามีผู้กำหนดมิใช่กลไกตลาด

จากสาเหตุดังกล่าว กลไกตลาดจึงถูกทำลาย ดังนั้น การกล่าวอ้างของกระทรวงพลังงานและปตท คือ กลไกตลาดเทียม

พิมพ์