ใครกันแน่ที่ทำให้ประเทศไทยมี 3G ช้า

เขียนโดย คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน วันที่ . จำนวนผู้ชม: 3396

ตามที่กสทช. ได้จัดแบ่งคลื่นความถี่ 3จี สำหรับใช้ประมูลที่มีอยู่ 45 MHz ออกเป็น 9 ชุด ชุดละ 5 MHz ราคาประมูลตั้งต้นชุดละ 4,500 ล้านบาท โดยผู้ประมูลแต่ละราย จะประมูลได้ไม่เกิน 3 ชุด หรือ มีเพดาน 15 MHz ต่อราย

 

ผลจากการประมูลในครั้งนี้ สังคมได้ตั้งคำถามสำคัญหลายประการถึง ประเด็นที่ว่าราคาประมูลชุดความถี่ที่ตั้งต้นที่ชุดละ 4,500 ล้านบาทนั้นต่ำหรือสูงเกินไปหรือไม่ทั้งที่ทราบว่าไม่มีการแข่งขัน รวมถึงวิธีการประมูล เป็นการจัดฉาก ‘ฮั้วประมูล’ หรือไม่ เพราะเมื่อมีผู้เข้าประมูลเพียงสามราย ทุกรายก็น่าจะได้คลื่นไปรายละ 3 ชุด (15 MHz) ลงทุนเริ่มต้นรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งผลของการประมูลที่ออกมายังสร้างข้อกังขาให้กับสังคมมากมายและเกิดคำถามจากการประมูลครั้งนี้ ต่อราคาประมูลไม่ได้ขึ้นไปสูง และการประมูลจบลงอย่างรวดเร็ว

สังคมไทยต่างเฝ้ารอคอยการใช้ 3G ในคลื่นความถี่ 2.1 GHz โดยมี กสทช.เป็นแม่งานใหญ่ในการดำเนินการให้เอกชนเข้ามาประมูล คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการ ฯ และรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรผู้บริโภคเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา รวมทั้งได้มีมติในการจัดทำความเห็นและการจัดทำชุดข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับสาธารณะและผู้บริโภคที่ยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เพราะการจัดการประมูลและผลการประมูลจะต้องคำนึงถึง “ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมและต้องดำเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

 

ต้นทุนการประมูลกับการกำหนดราคามีผลหรือไม่

ความเห็นคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน



คณะกรรมการ ฯ มีความเห็นว่า การประมูลครั้งนี้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ หรือรายได้อันควรพึงมีพึงได้ของประเทศอย่างชัดเจนจากข้อมูลข้างต้น และหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ผลประโยชน์ที่ควรจะตกอยู่กับผู้บริโภคก็ไม่เกิดขึ้นจริง หรือไม่อย่างนั้นต้องปรับปรุงราคาขั้นต่ำในการประมูลตามข้อเสนอแนะของการศึกษาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ราคา 6,440 ล้านบาทเป็นราคาตั้งต้น

 

การคุ้มครองผู้บริโภคในเงื่อนไขการประมูล

ความเห็นคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน

หมายเหตุ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เป็นคณะกรรมการ ฯ ที่จำลองการมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 61

มาตรา 61 สิทธิของบุคคล ซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค

ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

พิมพ์