กสทช.เคาะวิธีประมูล3จีกลางเดือนนี้ผู้เชี่ยวชาญห่วงเอกชนฮั้วยอมรับไม่มีวิธีป้องกันแนวหน้า

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 2233

กสทช.ยันวันที่ 15พ.ค.นี้ เคาะรูปแบบ-วิธี-จำนวนใบอนุญาต3G ก่อนเปิดประมูลในเดือนกันยายน  “โนเกีย”ติงวิธีแบ่งประมูลลอตละ5MHz น้อยไป ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยันไม่มีรูปแบบใด ที่ป้องกันการการฮั้วได้ เพราะเอกชนจะผู้ที่เล่ห์เหลี่ยมต่างๆเพื่อให้ได้ประมูล

เมื่อวันที่ 11พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)จัดสัมมนาให้ความรู้ใน โครงการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโทรคมนาคมแก่สื่อมวลชน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเปิดการประมูลใบอนุญาต การประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)หรือ3G

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.ในฐานะประธานด้านกิจการโทรคมนาคม(กทค.) กล่าวว่า การประมูลใบอนุญาต 3G จะมีขึ้นระหว่าง เดือน กันยายน หรือ ตุลาคมนี้ หรือในช่วงไตรมาสที่3ของปีนี้ คาดว่า ในวันที่ 15 พฤษภาคมบอร์ด กทค.มีมติสรุปรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆในการเปิดประมูล อาทิ จำนวนใบอนุญาต กระบวน และรูปแบบการเปิดประมูล รวมไปถึงเงื่อนไข N-1 (กรณีทมีผู้ประมูล3รายจะให้ใบอนุญาต2ราย)ว่า จะนำมาใช้ในการประมูลหรือไม่  โดยราคาเริ่มต้นไลเซ่นส์ ที่จะเปิดประมูลนั้นคาดว่าจะมีความชัดเจนประมาณปลายเดือนพฤษภาคม หรือช้าสุดต้นเดือนมิถุนายนนี้  พร้อมเร่งดำเนินการเปิดประมูลไลเซ่นส์ 3G ให้ได้ในช่วง

โดยกระบวนการจากนั้นจะนำมติในที่ประชุมบอร์ดกทค.เข้าสู่บอร์ดกสทช.เพื่อ อนุมัติ และจะสามารถเปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ก่อนนำขึ้นเว็บไซต์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2 เดือน หรือราวเดือนสิงหาคมจะสามารถสรุปรูปแบบการประมูลที่จะนำไปใช้ได้จริงในการ เปิดประมูล 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ด้านนายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญและให้คำแนะนำการออกแบบการประมูล บริษัท แคลมตันฯ ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการประมูล โดยการกำหนดคลื่นความถี่ หรือ spectrum cap อาทิ เช่น การกำหนดช่วงคลื่นความถี่เป็น 9 ช่วง (lot) ช่วงละ  5 เมกะเฮิรตซ์ ( MHz)เป็นรูปแบบที่สามารถกระตุ้นผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ แต่รูปแบบการประมูลทุกรูปแบบไม่สามารถป้องกันการฮั้วของผู้เข้าร่วมประมูล ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้

“เป็นสิ่งที่ยาก และไม่มีวิธีใดที่จะป้องกัน ถึงแม้จะมีกฎหมายที่กำหนดในแต่ละประเทศนั้นๆ แต่ก็ยังพบผู้ที่ใช้เล่เหลี่ยมช่องโหว่ของกฏหมายเข้ามาฮั้วได้เช่นกัน”นาย พัชรสุทธิ์ กล่าว

นายกฤติกา มหัทธนกุล ประธานกลุ่มธุรกิจเอเชียเหนือ บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ด้วยวิธีที่แบ่งคลื่น45MHz เป็นลอตๆ จำนวน 5 MHz ถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยเกินไปที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับ ธุรกิจโทรคมนาคม อาทิเช่น ประเทศกัมพูชา ผู้ที่ประมูลคลื่นความถี่ได้ 5 MHz สุดท้ายก็จำเป็นที่ต้องขายกิจการเกิดขึ้น และพบว่าในอินเดียผู้ได้คลื่นไปต้องหาซื้อใบอนุญาตเพิ่ม

นสพ.แนวหน้า 12 พ.ค. 2555

พิมพ์