สบท.กับภารกิจคุ้มครองผู้บริโภค ...ปัญหาอยู่ที่ใคร ?

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 3789

เหมือน จะจบแต่ไม่จบสำหรับประเด็นที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเรียกเก็บค่าต่อคู่ สาย 107 บาท (ทรูมูฟเก็บ 214 บาท) จากลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าค้างชำระค่าบริการรายเดือนติดต่อกัน 2 เดือน จนถูกตัดสัญญาณและถูกเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวเมื่อมาชำระหนี้และขอต่อคู่ สาย


เรื่องนี้เริ่มต้นในเดือน ส.ค.2551 เมื่อสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) รับร้องเรียนจากผู้ใช้บริการรายหนึ่งซึ่งเรียกร้องให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) คืนเงินจำนวนดังกล่าว และขอให้ระงับการเรียกเก็บค่าต่อคู่สายสำหรับผู้ใช้บริการรายอื่นๆ ด้วย ต่อมาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) มีมติเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2551 ให้ดีแทคคืนเงินค่าต่อคู่สาย 107 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้อง และให้ระงับการเก็บค่าต่อคู่สายจากผู้ใช้บริการรายอื่นๆ รวมทั้งให้สำนักงาน กทช.แจ้ง ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทุกรายให้งดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว


อย่างไรก็ตามมติของ กทช.ไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติแต่อย่างใด โดยทุกวันนี้ผู้ให้บริการยังคงเก็บค่าต่อคู่สายเช่นเดิม


ขณะ ที่ดีแทคเองทำหนังสือถึง กทช. วันที่ 24 ธ.ค.2551 ขอให้ทบทวนมติดังกล่าว และชี้แจงเพิ่มเติมว่า การเก็บค่าต่อคู่สายนั้นดีแทคได้รับความเห็นชอบจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แล้ว จึงถือเป็นการเรียกเก็บตามสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาสัมปทาน และเรื่องนี้เป็นการ ปฏิบัติตามประเพณีการค้าที่มีมานานแล้ว การงดเก็บค่าต่อคู่สายจะมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการเนื่องจากจะเป็นการจูงใจ ให้ผู้ใช้บริการชำระค่าบริการภายในเวลาที่กำหนด


วันที่ 4 ก.พ.2552 ที่ผ่านมา สบท.จึงได้จัดเสวนาเรื่อง "หลากหลายมุมมอง : กรณีค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ 107/214 บาท เมื่อผิดนัดชำระค่าบริการ" โดยเชิญตัวแทน ผู้ประกอบการทุกราย ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการมาร่วมแสดงความเห็น อย่างไรก็ตามงานนี้ก็ไม่มีข้อสรุปหรือเกิดภาพการรอมชอมระหว่างผู้ประกอบการ และผู้บริโภคแต่อย่างใด เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีเหตุผลทางกฎหมายหักล้างกันจนต้องตีความ และผู้ที่ตีความได้ดีที่สุดก็คือ "ศาล" เท่านั้น


เช่นประเด็นการเก็บ ค่าต่อคู่สาย โทรศัพท์เป็นการเรียกเก็บโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ฝ่ายผู้ประกอบการยืนยันว่า เก็บโดยชอบด้วยกฎหมายตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้ให้สัมปทาน ขณะที่ฝั่งผู้บริโภคมีความเห็นแย้งว่า อำนาจการกำกับดูแลของผู้ให้สัมปทานหมดลงตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2543 ดังนั้นผู้ให้สัมปทานจึงไม่มีอำนาจอนุมัติการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจาก กทช.ซึ่งตามประกาศ กทช.เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 กำหนดว่า ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นใดนอกเหนือจากค่าบริการไม่ได้ ดังนั้นการเก็บค่าต่อคู่สายจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย


หรือประเด็นเรื่อง ค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ถือเป็นค่าบริการหรือเป็นค่าปรับ ซึ่งผู้ให้บริการยืนยันว่า เป็นค่าบริการอย่างหนึ่ง ขณะที่ผู้บริโภคเห็นว่านี่คือค่าปรับซึ่งไม่สามารถเก็บได้ตามประกาศ กทช.เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549


หรือแม้แต่ ประเด็นการปฏิบัติตามประกาศ กทช.เอง ดีแทคก็ชี้แจงว่า ได้ปฏิบัติตามทุกขั้นตอนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งได้ส่งแบบสัญญาให้ กทช.พิจารณาแล้ว แต่เมื่อ กทช.ยังไม่อนุมัติแบบสัญญาเสียที ซึ่งตามบทเฉพาะ กาลของประกาศก็ให้ใช้แบบสัญญาเดิมไปก่อน ซึ่งก็คือแบบสัญญาที่ผู้ให้บริการสามารถเก็บค่าต่อคู่สายได้นั่นเอง


รวม ทั้งประเด็นเรื่องประกาศ กทช.เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการและการเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้าใน กิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ซึ่งจะระบุว่าอะไรคือค่าบริการ อะไรที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคได้ และอะไรเก็บไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการชี้แจงว่า ในระยะ 30 วันหลังประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ บริษัทได้ส่งโครงสร้างค่าบริการ (รวมทั้งค่าต่อคู่สาย) ให้ กทช.แล้ว และ กทช. ไม่เคยมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงใดๆ ดังนั้นจึงเรียกเก็บค่าบริการต่างๆ ตามที่เคยปฏิบัติมา


ตัวแทนจากดีแทคให้ความเห็นว่า ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องตีความตามกฎหมาย บริษัทเองได้ชี้แจงข้อเท็จจริงไปหมดแล้ว และเรียกร้องให้ กทช.เข้ามาดูแล สร้างความชัดเจนมากกว่านี้ เช่น เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการ ซึ่ง กทช. ควรกำหนดให้ชัดว่า อะไรที่เก็บได้และอะไรเก็บไม่ได้


"เรายินดีที่จะ ปฏิบัติตามคำสั่ง กทช. แต่ก็ต้องเป็นคำสั่งที่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล ถ้าจะไม่ให้เก็บก็ต้องมีเหตุผลมา รองรับว่าเพราะอะไร"


ทางด้าน "อานุภาพ ถิรลาภ" นักวิชาการทางด้านโทรคมนาคม ให้ความเห็นว่า เมื่อ กทช.มีมติออกมาแล้วว่าเก็บไม่ได้ ก็ควรออกประกาศ กทช.ออกมาให้ชัดเจนว่าห้ามเก็บ หากผู้ประกอบการไม่เห็นด้วยก็สามารถใช้สิทธิฟ้องศาลปกครองได้


" เรื่องของเรื่องคือ กทช.เป็นผู้มีอำนาจ เมื่อออกประกาศมาตั้งแต่ปี 2549 แล้วแต่ไม่มีการบังคับใช้ ปล่อยให้ปัญหาหมักหมม ไม่ทำในสิ่งที่ตัวเองควรทำ แล้วปล่อยให้เป็นปัญหาของโอเปอเรเตอร์มาทะเลาะกับผู้บริโภคไปจนถึงชั้นศาล จริงๆ แล้ว กทช.ต้องไปศึกษาต้นทุนอัตราค่าบริการแล้วประกาศมาเลย ไม่ใช่ไปเอามติ ครม.มาใช้ชั่วคราว"

ณะที่ "สบท." ที่ถือเป็นสถาบันคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมโดยตรงก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายจัดการใดๆ ได้เลย

ข้อมูลจาก นสพ.ประชาชาติธุรกิจ 09-02-52

พิมพ์