ทรูมูฟยื่นหนังสือต่อกทช.ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ อำนวยการ สบท.

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 5013

ทรูมูฟยื่นหนังสือต่อกทช.ขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียน

ตาม ที่มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับกรณี iPhone ซึ่งบริษัท ทรู มูฟ จำกัด ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท Apple ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่อง iPhone ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยกล่าวหาว่าทรูมูฟกระทำ การฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆ ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการ ก่อให้เกิดความเสียหายและความสับสนในหมู่ลูกค้าและประชาชนทั่วไป รวมทั้งเสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของทรูมูฟ นั้น

บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ได้ยื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียน และบริการประชาชน กรณีการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ iPhone3G ของบริษัท ด้วยข้อความที่ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและเกิดความรู้สึกไม่ดีกับการจัด จำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ iPhone3G ตลอดจนส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการประกอบธุรกิจของบริษัทอย่างรุนแรง

window.google_render_ad();อีกทั้งยังเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายบริษัท ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ทรูมูฟ ได้จัดงานเพื่อให้ผู้สั่งจองมารับ พร้อมส่งมอบเครื่อง iPhone เครื่องแรกในไทยให้ผู้สั่งจองเมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ณ Royal Paragon Hall  ศูนย์การค้าสยามพารากอน แต่เนื่องจากมีการนำเครื่อง iPhone ที่ผิดกฎหมาย หรือ “ของเถื่อน” จำนวนมากเข้ามาในประเทศไทย ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งการลักลอบนำเข้ามาในประเทศและหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ในขณะที่การนำเครื่อง iPhone เข้ามาในประเทศไทยของทรูมูฟเป็นการนำเข้าที่ถูกต้อง โดยเสียภาษีอากรตามกฎหมายทุกประการ แต่กลับถูกกล่าวหาว่าทรูมูฟเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้บริการ ซึ่งที่ผ่านมา ทรูมูฟได้ให้ความร่วมมือกับ กทช. ในการชี้แจงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ กทช. (สบท.) ก็ได้รับทราบข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายและการให้บริการดังกล่าวอย่างชัดเจนแล้ว

แต่ไม่เคยแจ้งกลับมาให้ทรูมูฟทราบ ว่า การจัดจำหน่ายและการให้บริการดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ไม่เป็นไปตามกฎหมายอย่างไร หรือจะให้ดำเนินการแก้ไขอย่างไร กลับยังให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกล่าวหาทรูมูฟ ว่าทำผิดกฎหมาย และเอาเปรียบผู้บริโภคมาโดยตลอด

การที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) และคณะอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียนและบริการประชาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ กทช. ให้สัมภาษณ์ และหรือให้ข่าวสารต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการจำหน่ายและการให้บริการ iPhone ดังกล่าว

ทำให้ทรูมูฟได้ รับความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพพจน์อย่างร้ายแรง ถือเป็นการทำลายธุรกิจของบริษัท จนทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความสับสน และขาดความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการดังกล่าวของทรูมูฟ

กรณีที่มีการกล่าวหาว่า ทรูมูฟบังคับให้ผู้บริโภคต้องใช้เครื่อง iPhone และใช้บริการทรูมูฟนั้น บริษัทขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะประชาชนทั่วไปสามารถซื้อเครื่อง iPhone เปล่า เพื่อนำไปใช้บริการโทรศัพท์กับผู้ประกอบการรายอื่นได้

แต่การที่ทรูมูฟทำ แพคเกจ เพื่อส่งเสริมการขาย ก็เนื่องจากเครื่อง iPhone ถูกออกแบบมารองรับการใช้งานทั้งด้านเสียงและด้าน DATA (ผ่าน EDGE, GPRS และ Wi-Fi) ซึ่งลูกค้าจะได้รับประโยชน์เต็มที่ในกรณีที่ผู้ให้บริการให้แพคเกจส่งเสริม การขาย

โดยเฉพาะด้าน DATA ในราคาที่คุ้มค่า และที่สำคัญไม่ต้องการให้บุคคลอื่นนำเครื่อง iPhone ที่มีการลักลอบนำเข้าโดยผิดกฎหมาย มาใช้บริการในโครงข่ายของ  ทรูมูฟ เพราะทรูมูฟเป็น บริษัทที่มี Good Corporate Governance และไม่สนับสนุนให้มีการหลีกเลี่ยงภาษี อันเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

สำหรับกรณีที่มีการกล่าวหาว่า ทรูมูฟเลือกปฏิบัติ แบ่งแยกหรือกีดกันผู้ใช้บริการ เนื่องจากลูกค้าทรูมูฟเท่า นั้นที่สามารถซื้อเครื่องและสมัครใช้บริการ Package Basic ได้ และมีการกำหนดอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันนั้น ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน

เพราะทรูมูฟปฏิบัติ ต่อผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปอย่างเท่าเทียม แต่เหตุที่อัตราค่าบริการมีความแตกต่างกัน เนื่องจากเครื่อง iPhone 8G และ iPhone 16G มีหน่วยความจำและความสามารถในการใช้งานแตกต่างกันมาก ดังนั้น อัตราค่าบริการจึงจำเป็นต้องมีอัตราที่แตกต่างกัน

กรณีที่มีการกล่าวหาว่า เงื่อนไขการตลาดของทรูมูฟขัดต่อประกาศ กทช.ข้อ 15 เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 เนื่องจากการเช่าเครื่องโดยวิธีผ่อนชำระจะมีราคา ถูกกว่าการซื้อเครื่องเปล่านั้น ทรูมูฟขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเงื่อนไขการตลาดของทรูมูฟดังกล่าวเป็นไปตามประกาศ กทช. ข้อ 15 และหากผู้ใช้บริการประสงค์ที่จะยกเลิกการใช้บริการกับทรูมูฟก่อนครบกำหนดเงื่อนไขการตลาด ก็สามารถกระทำได้

กรณีดังกล่าว ทรูมูฟปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายและประกาศ กทช. ที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด แต่กรณีการชำระค่าเครื่องที่ธนาคารได้ชำระแทนผู้ใช้บริการไปแล้วนั้น ผู้ใช้บริการมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าเครื่องให้กับธนาคารที่ผู้ใช้บริการ ได้ทำสัญญาผูกพันไว้ในการซื้อเครื่อง iPhone  ต่อไป เนื่องจากในขณะทำสัญญากับธนาคารเพื่อซื้อเครื่อง iPhone

ผู้ใช้บริการได้อ่านและเข้าใจเงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อเครื่อง iPhone โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ หรือหลอกลวงผู้ใช้บริการแต่อย่างใดทั้งสิ้น  ดังนั้น  ทรูมูฟจึงไม่สามารถก้าวล่วงสัญญาระหว่างธนาคารกับผู้ใช้บริการได้

สำหรับกรณีที่ประชาชนซื้อเครื่องและใช้บริการ iPhone ของทรูมูฟโดยวิธีการผ่อนชำระเป็นรายเดือน จะมีอัตราค่าบริการถูกกว่าการซื้อเครื่องเปล่านั้น  ทรูมูฟขอ เรียนว่า  เป็นเรื่องปกติในการทำการตลาดหรือการส่งเสริมการขาย  เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นที่ทำการตลาดอยู่โดยทั่วไป เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น  โดยการขายสินค้าในราคาพิเศษใกล้เคียงกับราคาต้นทุนของสินค้านั้น ก็เพื่อตอบแทนความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกใช้บริการทรูมูฟ 

บริษัท ทรู มูฟ จำกัด  จึงจำเป็นต้องยื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)  เพื่อขอให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและอนุกรรมการรับเรื่องร้องเรียน และบริการประชาชน 


อีกทั้ง  เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงและความเป็นจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับกรณีเครื่อง iPhone ที่ทรูมูฟ ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัท Apple ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายเครื่อง iPhone ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับลูกค้าและประชาชนทั่วไป และเพื่อรักษาชื่อเสียง ภาพพจน์ และการให้บริการของทรูมูฟ  ไม่ให้ลูกค้าและประชาชนสับสน

อันจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการและความเชื่อมั่นในบริการ iPhone ที่ทรูมูฟนำ เข้ามาให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมและความยุติธรรมต่อบริษัท ทรู มูฟ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ปฏิบัติตามข้อบังคับและข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัดมา โดยตลอด        

ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552

 

พิมพ์