สภาองค์กรของผู้บริโภค จี้ ครม. หยุดต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค วันที่ . จำนวนผู้ชม: 2449

190464 news pic

สภาองค์กรของผู้บริโภคออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5 ย้ำรถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งมวลชน ครม.ต้องหยุดต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้า ราคา 25 บาททำได้จริง เผยจุดยืนรถไฟฟ้าทุกสายราคาต้องถูกลง 

 หลายคนตั้งคำถามสภาองค์กรของผู้บริโภค กับประเด็น “25 บาททำได้จริงหรือ?” ราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเสนอต่อ กทม.และรัฐบาล  สภาองค์กรของผู้บริโภคขอถามกลับ “65 บาท ประชาชนจ่ายได้จริงหรือ? เมื่อสูงถึง 39.28%ของรายได้ขั้นต่ำหรือรัฐบาลพร้อมจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรีได้แจ้งไว้ว่าจะนำเรื่องค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ เข้าครม.เพื่อลงมติ ในขณะเดียวกันบริษัทบีทีเอสก็ออกคลิปทวงหนี้รัฐบาลออกอากาศ ขณะเดียวกัน ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นเรื่องต้นทุนของรถไฟฟ้า และบริษัทกรุงเทพธนาคมของ กทม. ได้ออกมาโต้เรื่องราคาเช่นกัน โดยภาพรวม สภาองค์กรของผู้บริโภคมองเห็นว่า เป็นกระบวนการที่ชี้ชวนและบังคับให้ประชาชนจำยอมรับราคา 65 บาทที่กทม.ตั้งไว้ มีเพียงคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ออกมาให้ข้อมูลหนี้กทม. และเห็นว่า หลังปี พ.ศ. 2572 หมดสัญญาสัมปทาน แล้ว รายได้ต่างๆ ของรถไฟฟ้าสามารถใช้หนี้ได้สบาย แถมสามารถลดราคาให้ประชาชนได้อีก

สภาองค์กรของผู้บริโภคขอเรียกร้องให้รัฐบาล มีหลักการเบื้องต้นของการสร้างระบบรถไฟฟ้าเพื่อให้เป็นบริการขนส่งมวลชนในการสัญจรในกรุงเทพมหานคร ที่การจราจรกำลังทำให้เมืองเป็นอัมพาต สร้างมลพิษทางอากาศ และทำลายคุณภาพชีวิตของประชาชนและระบบเศรษฐกิจของชาติ แต่เมื่อราคารถไฟฟ้ามิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสามารถจ่ายได้จริงของประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้สัญจรไปมา ระบบรถไฟฟ้าก็จะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของความล้มเหลวของรัฐบาล สภาองค์กรของผู้บริโภค มีความเห็นโดยภาพรวมดังนี้

ให้ข่าวว่า  การกำหนดราคา 65 บาท กทม.จะได้ผลตอบแทน 240,000 ล้านบาท ตลอดสัมปทาน 30 ปี แต่จากการคาดการณ์ของกระทรวงคมนาคม หากใช้ราคา 49.83 บาท จะทำให้กทม.มีรายได้ 380,200 ล้านบาท ในระยะเวลา 30 ปี  หากนำเงินจำนวนนี้ใช้หนี้เดิมในช่วง ปีพ.ศ. 2564-2572 ประมาณ 100,000 ล้านบาท กทม.ยังมีกำไรสูงถึง 280,200 ล้านบาท (380,200-100,000 = 280,200 ล้านบาท)

เดินรถทั้ง 2 สายเป็นเวลา 25 ปี มูลค่ากว่า 160,000 ล้านบาท (https://themomentum.co/bts-skytrain-concession/ )

การจัดบริการขนส่งมวลชนเป็นพันธกิจของรัฐบาลที่มอบให้กทม. ดำเนินการแทน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ระบบรถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ จะนำเรื่องขาดแคลนงบประมาณมาเป็นข้ออ้างไม่ได้ เพราะมีวิธีหารายได้หลายๆทางที่จะนำมาชดเชยค่าใช้จ่ายที่ขาดทุนได้ตามตัวอย่างที่สภาองค์กรของผู้บริโภคยกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมข้างต้นนี้

Tags: รถไฟฟ้า, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มพบ., บีทีเอส, รถไฟฟ้าขึ้นราคา, รถไฟฟ้าบีทีเอส, ค่ารถไฟฟ้าแพง, 25บาททำได้จริง, บีทีเอสไม่เอา65บาท38ปี

พิมพ์