รัฐเข้มคุม 1 ปี สกัด แร่ใยหินผลิตสินค้า

เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 5221

ธุรกิจ กระเบื้องมุงหลังคา-ไม้ฝา -ผ้าเบรก คลัตช์ อ่วมหลังผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เห็นพ้องให้ยกเลิกนำแร่ใยหินมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า

ธุรกิจ กระเบื้องมุงหลังคา-ไม้ฝา -ผ้าเบรก คลัตช์ อ่วมหลังผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เห็นพ้องให้ยกเลิกนำแร่ใยหินมา เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า หวั่นเป็นผลร้ายต่อสุขภาพผู้บริโภค พร้อมชงเรื่องลงในประกาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากที่ล่าสุดรอประกาศในราชกิจ จานุเษกษา

วานนี้ (26 พ.ย. 2552) ผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมพร้อม ให้ความเห็นต่อกรณีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่องให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็น สินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งขณะนี้รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ประชุมมีความเห็นที่ตรงกัน ว่า เมื่อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหรือนำเอาวัตถุดิบดังกล่าวมาใช้ในกระบวนการ ผลิตนั้นมีผลร้ายแรงต่อสุขภาพ ดังนี้ 1.ห้ามนำเข้าวัตถุดิบประเภทแร่ใยหิน 2.ไม่ให้มีสินค้าที่ผลิตและมีส่วนประกอบของแร่ใยหินภายใน 1 ปี 3.ลดภาษีนำเข้าวัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ทดแทนแร่ใยหินให้ เหลือ 0% จากปัจจุบันผู้นำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าอยู่ประมาณ 30% และต้องระบุว่า วัตถุดิบที่นำมาทดแทนนั้นจะต้องไม่มีผลร้ายต่อสุขภาพ

4.และเสนอให้หน่วยงานของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะต้องผลักดันหรือนำเสนอต่อองค์การอนามันโลก (WHO) ในการผลักดันการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินให้เป็นมาตรฐานสากล

และ 5.จะต้องมีการทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่จะสื่อให้ข้อมูลหรือความรู้แก่ประชาชน ถึงอันตรายหรือผลกระทบที่จะเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน เป็นต้น โดยแนวทางหรือข้อเสนอต่างๆ ดังกล่าว จะมีการรวบรวมและนำเสนอเพื่อประกาศลงในราชกิจจานุเษกษาด้วย

นางชื่นสุข เมธากุลวัฒน์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากสำนักงานนคณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภค (สคบ.)
เปิดเผยว่า ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2552 เรื่องให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็น สินค้าที่ที่ควบคุมฉลาก ได้ส่งเรื่องไปประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วและขณะนี้รอประกาศ โดยหลังลงประกาศในราชกิจจานุเษกษาจะต้องรออีก 120 วัน ประกาศดังกล่าวถึงจะมีผลบังคับใช้

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเป็นสารเสียดทาน เช่น ผ้าเบรก และผ้าคลัตช์ และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างประเภทกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ไม้ฝา ท่อน้ำ ซึ่งขณะนี้ยังพบว่ามีการนำแร่ใยหินมา ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ทั้ง นี้ เมื่อประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการ ระบุข้อความคำเตือน ,คำแนะนำ และภาพตราสัญลักษณ์ ที่เป็นมาตรฐานที่ระบุไว้ในประกาศเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบด้วย

แหล่งข่าวจากผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องมุงหลังคา กล่าวว่า การที่มีการออกประกาศเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากนั้น ยอมรับว่ากระทบต่อผู้ผลิตและจำหน่ายในหลายด้าน และขณะนี้ก็มีผู้ผลิต 3 ราย คือ กระเบื้องโอฬาร, ตราเพชร และมหพันธ์ ได้ร่วมกันและอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลหรือรายละเอียดต่างเพื่อเสนอต่อ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบในการพิจารณาก่อนที่จะประกาศลงในราชกิจจานุเษกษา ทางด้านผู้ประกอบการผ้าเบรกแหล่งข่าวระบุ ว่า มีผู้ผลิตรายย่อยเท่านั้น ที่ยังใช้ส่วนผสมของแร่ใยหิน ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่ได้ปรับไปใช้ส่วนผสมทดแทนแล้ว

ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าแร่ใยหินเป็น อันดับ 4 ของโลกเฉลี่ยต่อปีอยู่ประมาณ 1 แสนตัน ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ที่นำเข้าไม่น้อยกว่า 2 แสนตัน/ปี เหตที่นำเข้าลดลงนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ผลิตรายใหญ่เครือซิเมนต์ไทยได้ยก เลิกการนำเอาแร่ใยหินมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ และแร่ใยหินที่นำเข้ามานั้น 90-95% นำมาใช้กับภาคผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 27/11/52

พิมพ์