
เป็นที่รับรู้และยอมรับกันทั่วโลกว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ (Medical Error) สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะให้การรักษาอย่างดีที่สุดตามมาตรฐานวิชาชีพแล้วก็ตาม จึงควรมีกลไกการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการฟ้องร้อง สร้างความเป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำ ที่มีอยู่ และนำข้อผิดพลาดมาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อ 10,000 ชื่อเสนอกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... อีก ๖ ฉบับ โดยมีหลักการและเจตนารมณ์เดียวกัน เตรียมเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรสมัยนิติบัญญัติ
ขณะนี้ได้มีการเคลื่อนไหวคัดค้านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว โดยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นอย่างมีอคติ เจตนาให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของ (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เช่น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้แพทย์จะถูกฟ้องร้องมากขึ้น แพทย์จะถูกฟ้องอาญา จะทำให้มีความขัดแย้งมากขึ้น เป็นต้น และ มีความพยายามในการยับยั้ง (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายฯ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดข้อขัดแย้งข้อกังขาในระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
โดยวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อ 1) สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อ (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... 2.)เผยแพร่ (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ให้เป็นที่รับรู้และเข้าใจอย่างกว้างขวาง 3.)ระดมความคิดเห็นหาฉันทามติต่อ (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...
รูปแบบการจัดงานครั้งนี้จะมีการนำเสนอข้อเท็จจริง เกี่ยวกับร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ… และอภิปรายประเด็นสำคัญที่มีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ในร่าง กฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งระดมความคิดเห็นหาฉันทามติต่อกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน
โดยเป้าหมายการจัดงานครั้งนี้เป็นเครือข่ายโรคมะเร็ง ชมรมเพื่อนโรคไต เครือผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายจิตเวช เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้แทนวิชาชีพด้านสาธารณสุข นักวิชาการด้านสาธารณสุข เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ องค์กรภาครัฐ สื่อมวลชน และ ประชาชนผู้สนใจทั่วไป สามารถสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ติดต่อสำรองที่นั่ง webmaster@consumerthai.org
(ร่าง) กำหนดการ
สภาปฎิรูประบบบริการสาธารณสุข กรณี (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... วันที่ 24 สิงหาคม 2553 เวลา 08.30-16.30 |
|
08.30-09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00-09.15 น. | เปิดงาน โดย...รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค |
09.15-09.45 น. | ปาฐกถา “พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ: สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ” โดย...นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน |
09.45.-10.00 น. | รับประทานอาหารว่าง |
10.00-10.15 น. | ชมวีดีทัศน์ “บทเรียน ขอนแก่นโมเดล” |
10.15.-10.45 น. | ความจริงเรื่อง (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดย...นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ** |
10.45-12.00 น. | อภิปราย “ประโยชน์ที่สาธารณชนจะได้จาก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” - คุณูปการของ มาตรา 41 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย...นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ** - สาระและความจริงในร่างกฎหมาย โดย...ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - สถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพ ได้ประโยชน์อะไรบ้าง จากกฎหมายฉบับนี้ โดย...นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น - ประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากกฎหมายฉบับนี้ โดย...นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ผู้ประสานงานองค์กรผู้บริโภคภาคตะวันตก ดำเนินรายการโดย... นางสาววกรรณิการ์ กิติเวชกุล ผู้จัดการวิทยุเช้าทันโลก FM 96.5 |
12.00-13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00-15.00 น. | ประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหาฉันทามติ 5 ประเด็นสำคัญของ (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ห้องย่อยที่ 1: ความเสียหายแบบไหนที่ควรชดเชย การชดเชยควรมีเพดานหรือไม่ ประธาน น.พ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขานุการ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิด้านเอดส์ ห้องย่อยที่ 2: โครงสร้างกรรมการ สำนักงาน หน้าตาอย่างไร ถึงจะดีที่สุด ประธาน ดร. วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล** เลขานุการ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ห้องย่อยที่ 3: ที่มาเงินสมทบกองทุน บริหารอย่างไร โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประธาน นพ. ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขานุการ ทพญ. ดร. ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฏ์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ห้องย่อยที่ 4: การไกล่เกลี่ยและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีควรเป็นอย่างไร ประธาน ผศ. ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เลขานุการ นางสาวกชนุช แสงแถลง ผู้ประสานองค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ห้องย่อยที่ 5: การพัฒนาระบบความปลอดภัย และ ป้องกันความเสียหาย ประธาน นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา กรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เลขานุการ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ |
15.00-16.00 น. | นำเสนอฉันทามติใน 5 ประเด็นสำคัญของ (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ประธานรับฟังฉันทามติ โดย...นพ. อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ |
16.00-16.20 น. | สรุปและส่งมอบฉันทามติต่อ... นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข** เครื่องหมาย * อยู่ระหว่างการประสานงาน |