ผู้บริโภคสุดทนบริษัทรถยนต์ ขอพึ่งบารมีศาล

หลังจากเจอปัญหาอากาศเสียในรถยนต์ ที่ใช้ส่งลูก 3 คนอยู่เป็นประจำ ใช้เวลาเกือบปีร้องเรียนและ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ช่วยเหลือ แต่ยังไม่ได้รับชดเชย เยียวยาความเสียหายจากบริษัทแต่อย่างใด ตัดสินใจขอพึ่งบารมีศาล เตรียมฟ้องคดีต่อศาลแพ่งธนบุรี ในวันพรุ่งนี้ (17 มิถุนายน 2553) เวลา 10.00 น.



นางสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล  เจ้าของรถยนต์โตโยต้า
รุ่นInnova เลขทะเบียน ศณ 6774  เกิดปัญหาอากาศเสีย หรือควันรถยนต์ไหลย้อนกลับเข้าไปในห้องโดยสารรถ และนักวิชาการด้าน  วิศวกรรมคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ตรวจพบมีกาซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในห้องโดยสารสูงถึง 16 ppm โดยปกติต้องไม่มีหรือมีค่าเป็น 0

 

โดยนางสุภาภรณ์  ว่องวีรวัฒนกุล กล่าวว่า ดิฉันเริ่มสังเกตเห็นคราบเขม่าดำๆ ในรถ บริเวณช่องแอร์ ประตูรถ (ด้านใน) ช่องเก็บของ ขอบประตู ดิฉันจึงไปพบผู้จัดการศูนย์โตโยต้าบางนา ทางศูนย์ได้ปรึกษาศูนย์โตโยต้า มอเตอร์ (ศูนย์ใหญ่) มาดูแลให้ ทางศูนย์แจ้งว่าในรถมีภาวะมลพิษในอากาศมากกว่าค่ามาตรฐาน จึงขอนำรถไปซ่อมและรับรองว่าจะไม่มีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ในตอนนั้นเป็นปี 2007 ก็คิดว่าทางโตโยต้ารับรองแล้วจึงเชื่อมั่นมาตลอดว่ารถไม่มีปัญหาแล้วจริงๆ จึงใช้รถยนต์คันนี้มาโดยตลอด  จนในปีนี้เพื่อนที่มีความรู้ด้านรถยนต์มานั่งในรถคันนี้แล้วบอกดิฉันว่า รถคันนี้มีปัญหาเพราะมีกลิ่นไอเสียมาก และคราบเขม่าดำที่ติดอยู่ในรถมากนี้ก็ไม่ปกติเพราะรถคนอื่นที่เป็นเครื่องดีเซลก็ไม่มี ดิฉันจึงนำรถกลับไปปรึกษาที่ศูนย์บางนาอีก ทางศูนย์ได้ติดต่อศูนย์ใหญ่เข้ามาดู บอกว่าจะนำรถไปซ่อมอีกแต่ดิฉันไม่เชื่อถือในการซ่อมแล้ว เพราะเคยให้โอกาสซ่อมแล้วและทางโตโยต้าก็รับรองว่าจะไม่เป็นอีก แต่ก็พบว่ายังมีอาการเหมือนเดิม คือคราบเขม่าดำๆและกลิ่นไอเสียเข้ามาอีก ซึ่งแสดงว่าหลังจากซ่อมครั้งที่แล้ว

เขม่าบริเวณ ช่องแอร์


หลังจากนั้นได้ร้องเรียนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 จนบัดนี้ บริษัทยังไม่ยอมชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

นางสุภาภรณ์ กล่าวว่า เหตุที่ตัดสินใจฟ้องศาลในครั้งนี้  เพราะยังเชื่อมั่นในการเดินทางสู่กระบวนการยุติธรรม โดยหวังว่า จะทำให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อความเสียหายของผู้บริโภค เช่นที่บริษัทรถยนต์ในต่างประเทศได้ปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างดังที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวให้รับทราบเป็นระยะ และต้องการให้มีมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยเช่นเดียวกัน จึงได้ตัดสินใจขอพึ่งบารมีศาลเพื่อให้ความเป็นธรรมและเป็นแบบอย่างในการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีได้รับความเสียหายต่อสุขภาพจากการใช้สินค้า โดยยื่นฟ้องตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

 

พิมพ์ อีเมล