กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพหนุน ทั้ง ร.พ.รัฐและเอกชนยกเลิกเก็บเงินในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

580420 medical
กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้ออกแถลงการณ์ว่า กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพขอแสดงความขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในขั้นต้น ต่อข้อเรียกร้องที่ต้องการให้รัฐบาลพัฒนากลไกควบคุมค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพิ่มเติมที่สามารถตอบสนองต่อ ปัญหาอย่างชัดเจนและทันต่อกาล ในการนี้ ขอสนับสนุนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกระทรวงตามข้อเสนอของ ชมรมแพทย์ชนบท และกลุ่มผู้เสียหายทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ข้อเสนอระยะสั้น 1.ให้ รมว.สธ.ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ตามมาตรา 35 (4) ประกอบมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1.1 ให้โรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน ยุติการเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยและญาติในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือจนกว่าสัญญาณชีพจะอยู่ในภาวะคงที่ หรือปลอดภัยเพียงพอที่จะนำส่งไปรับการรักษาพยาบาลต่อในโรงพยา บาลต้นสังกัดตามสิทธิ์ของผู้ป่วย ยืนยันขอให้ดำเนินกระบวนการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

1.2 ให้โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินมีหน้าที่ในการส่งต่อผู้ป่วยไปยัง รพ.ตามสิทธิ์

1.3 ให้ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช. สปส. กรมบัญชีกลาง) ดำเนินการจัดหาเตียงสำรองให้เพียงพอ หากจัดหาให้ไม่ได้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

1.4 ให้ภาครัฐดำเนินการทำข้อตกลงกับ รพ. เอกชน เกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินของ 3 กองทุน และให้มีบทลงโทษสำหรับ รพ.เอกชนที่ไม่ทำตามเงื่อนไขดังกล่าวอย่างเด็ดขาด

2.กระทรวงสาธารณสุขต้องประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทราบว่า โรงพยาบาลไม่มีสิทธิ์บังคับผู้ป่วยและญาติให้เซ็นรับสภาพหนี้ เพราะเป็นสิทธิ์ของประชาชนในการใช้บริการ รพ.เอกชน ในกรณีฉุกเฉิน ตามมาตรา 36 และตามประกาศว่าด้วยการใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน 3 กองทุน

3.ห้ามสถานพยาบาลกักตัวผู้ป่วยหากไม่เป็นเหตุอันก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิต หากฝ่าฝืนถือเป็นความผิดทางอาญา

ข้อเสนอระยะกลาง (ภายในเวลา 3 เดือน)1.ให้กระทรวงสาธารณสุขออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการหนึ่งชุดที่มีองค์ ประกอบจากทุกฝ่าย และมีสัดส่วนภาคประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพื่อติดตามตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการสถานพยาบาลตามข้อ 1 และให้คณะกรรมการสถานพยาบาลรายงานผลดำเนินการต่อกรรมการชุดนี้ทุก 2 เดือน และดำเนินการเผยแพร่ผลการดำเนินงานผ่านสื่อสาธารณะทุกครั้ง

2.ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขปรับคณะกรรมการสถานพยาบาลในมาตรา 7 (2) ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวน 5 คน ให้เป็นผู้แทนจากภาคประชาชนที่เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์และภาคีเครือ ข่ายเป็นผู้เสนอ

3.ให้คณะกรรมการสถานพยาบาลทำหน้าที่ ตามมาตรา 11 (4) ในการควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการของสถาน พยาบาล ให้รวมถึงการวินิจฉัย การรักษา ที่มากเกินความจำเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา หรือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่นๆ ที่แพงเกินจริง

4.การดำเนินการเรื่องราคายา ให้มีการบังคับใช้ clinical practice guideline อย่างเคร่งครัด และการให้มีการใช้ยาชื่อสามัญ (generic) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วย

5.ขอให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดการออกพระราชบัญญัติยาที่มีการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับ สถานการณ์โดยภาคประชาชน ทั้งนี้ ต้องยืนยันไม่ให้มีการตัดเรื่องกลไกการควบคุมราคายาตามที่กลุ่มบริษัทยาคัด ค้านไว้

6.เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการตรวจสอบและลดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของ ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและการปฏิรูปประเทศ จึงควรให้มีการเปิดเผยข้อมูลประโยชน์ทับซ้อนของแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องใน รัฐบาล สนช. สปช. และแพทยสภา

ข้อเสนอระยะยาวใน 1 ปี1.ควบคุมการทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ไม่ให้มุ่งเน้นผลกำไร แต่มุ่งเน้นการดำเนินการทางมนุษยธรรม ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้มีการสำรองเตียงสำหรับผู้ป่วยคนไทยในทุกสิทธิ์ ทั้งในกรณีฉุกเฉินและการรับส่งต่อจากโรงพยาบาลภาครัฐในกรณีอื่นๆ โดยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพร่วมกับตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน ในการกำหนดราคาในการรักษาพยาบาลที่เป็นธรรม ไม่ค้ากำไรเกินควรและไม่โกงราคา

2.ยกเลิกการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจโรง พยาบาล และเร่งรัดการออกกฎหมายควบคุมการควบรวมกิจการการแข่งขันทางการค้า

3.เปิดให้มีการสมัครใจของโรงพยาบาลเอกชน ที่จะดำเนินการด้านบริการสาธารณะให้เป็นการดำ เนินการแบบองค์กรสาธารณประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น

ทั้งนี้ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเห็นด้วยในการปรับปรุงคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ระบบสาธารณสุข ระบบวิชาชีพการสาธารณสุขต่างๆ โดยดำเนินการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่เห็นด้วยที่จะดำเนินการโดยใช้มาตรการ ม.44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 โดยควรเป็นไปแบบประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน.

ขอบคุณข้อมูลจาก นสพ.ไทยโพสต์ วันที่ 19 พ.ค. 58

พิมพ์ อีเมล