ล่า 1 หมื่นชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.เข้าถึงยา คาด 2 เดือนสำเร็จ

ภาคประชาชนล่า 1 หมื่นรายชื่อ เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.การเข้าถึงยา คาดเสร็จภายใน 2 เดือน เน้นให้ประชาชนเข้าถึงยาราคาเหมาะสมคุณภาพดี
       
       เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่โรงแรมเอเชีย รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สสส. กล่าวในการประชุมกฎหมายเพื่อการเข้าถึงยา เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ฟิลิปปินส์-ไทย ว่า ขณะนี้แผนงานได้ระดมนักวิชาการ และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องในการร่าง พ.ร.บ.การเข้าถึงยาแล้ว แต่ยังเป็นเนื้อหาที่แบ่งตามการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ยา, พ.ร.บ.สิทธิบัตร และ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า คาดว่า จะรวมเนื้อหาเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันภายใน 1-2 เดือนนี้ เมื่อแล้วเสร็จจะเสนอต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีผลบังคับใช้ โดยวิธีการเช่น ล่า 1 หมื่นรายชื่อเสนอกฎหมายตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ การเสนอนโยบายสาธารณะผ่านพรรคการเมือง รวมถึงเสนอต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
       
       “ที่ ผ่านมา การแก้ไขกฎหมายของไทยแต่ละฉบับใช้เวลานานมาก ซึ่งภาคประชาชนและฝ่ายวิชาการก็ดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ แก้ไขกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาได้มากขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ ซึ่งขณะนี้ได้แล้วกว่า 8 พันรายชื่อแล้ว เพื่อเสนอต่อสภาต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่า พ.ร.บ.การเข้าถึงยาที่เป็นการรวมการแก้ไขกฎหมายทุกฉบับไว้ด้วยกันจะไม่มีผล บังคับใช้ แต่อย่างน้อยก็ทำให้ประชาสังคมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น ซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ชัดแล้วว่าประชาชนตื่นตัวและเข้าใจว่าการเข้าถึงยาเป็น เรื่องใกล้ตัว หลังจากที่มีการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร”รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าว
       
       รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศฟิลิปปินส์มีการออกกฎหมายการเข้าถึงยาขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายฉบับเดียว แต่มีผลผูกพันถึงการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องพร้อมกันไปด้วย อาทิ พ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า นับว่าได้เป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่มีการออกกฎหมายดังกล่าวที่ออกเพียงฉบับเดียว แต่แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อปี 2551 จึงเป็นประสบการณ์ที่ไทยควรนำมาวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ที่จะดำเนิน การตาม เพื่อการเข้าถึงยาและคุ้มครองผู้บริโภค
       
       ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่ ฝ่ายประสานงาน 3องค์การหมอไร้พรมแดนไทย-เบลเยียม กล่าวว่า ภาคประชาชนเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องร่าง พ.ร.บ.การเข้าถึงยาควบคู่ไปกับการดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการ เข้าถึงยาทีละฉบับ โดยร่าง พ.ร.บ.การเข้าถึงยาฉบับภาคประชาชนที่กำลังร่างอยู่นี้จะเป็นการแก้ไขกฎหมาย หลายฉบับไปพร้อมๆกัน อาทิ พ.ร.บ.สิทธิบัตร จะมีการแก้ไขให้คณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยากลับมาทำหน้าที่ หลังจากถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2542 ทั้งที่มีประโยชน์ต่อสิทธิบัตรด้านยามาก รวมถึงการสร้างกลไกในการจดสิทธิบัตรในประเทศให้มีประสิทธิภาพและได้รับการ คุ้มครองสิทธิผูกขาดตลาดยาได้เพียง 20 ปีเท่านั้น
       
       น.ส.กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ใน พ.ร.บ.ยาจะเน้นการให้มีการสร้างกลไกกำหนดราคายาอย่างเหมาะสม ยุติธรรมตั้งแต่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนยา รวมถึงไปถึงขั้นตอนการจัดหาและกระจายยากำพร้าและยาจำเป็นในประเทศได้อย่าง โปร่งใส ตรวจสอบได้และยุติธรรม พร้อมทั้งยังสร้างการตรวจสอบติดตามและกำกับราคายาในประเทศ และในส่วนของพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าที่เน้นการสร้างกลไกให้ขจัดการผูกขาด ตลาดยา
       
       “ไม่ ใช่ว่าที่ผ่านมาไทยไม่เคยมีการใช้กฎหมายฉบับเดียวที่แก้ไขกฎหมายหลายฉบับ เพราะในปี 2542 มีการออกกฎหมายปฏิรูประบบราชการที่มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ ดังกล่าวร่างพ.ร.บ.การเข้าถึงยาก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ดังนั้นหากรัฐบาลจะไม่เห็นด้วยก็ต้องนำข้อมูลงานวิชาการมายืนยัน เพราะการทำงานของภาคประชาชนในเรื่องนี้ยืนอยู่บนฐานของข้อมูล และงานวิชาการสนับสนุน ทั้งนี้ก็ไม่ได้หวังว่ามีร่างพ.ร.บ.นี้แล้วจะทำซีแอลได้ง่ายขึ้น แต่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้นในราคาที่เหมาะสม และเชื่อหากได้รับการสนับสนุนไม่เกิน 5 ปี กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้”น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
 
ดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 เมษายน 2552
 

พิมพ์ อีเมล