การคัดค้านการบังคับคดี

เขียนโดย ชูชาติ คงครองธรรม. จำนวนผู้ชม: 20798

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน

เรื่องของความเหลื่อมล้ำ ปัญหาที่คนทั่วไปอาจมองข้าม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นที่ใดในโลก ประเทศที่ร่ำรวยหรือเป็นมหาอำนาจซึ่งสังคมยิ่งเจริญมากขึ้นเท่าใดปัญหาสังคมยิ่งมาก

ทั้งที่ควรจะน้อยกว่าประเทศที่ยากจน ซึ่งความเหลื่อมล้ำเหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกที่เหนือกว่าหรือด้อยกว่า ซึ่งยิ่งมีความแตกต่าง ทางวัตถุเข้ามาเกี่ยวข้องมากเท่าใด ความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ผู้คนจะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความนับถือหรือถูกดูถูก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจอันสำคัญ เพราะจะมีผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตของชุมชน ความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะเริ่มสลายลง สังคมนั้นจะอ่อนแอ และผู้คนในสังคมนั้นจะไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้นไม่ว่าประเทศใด องค์กรใดหรือหน่วยงานใด จงพยายามอย่าให้ความเหลื่อมล้ำเข้ามามีบทบาทเป็นอันขาด ซึ่งจะทำได้แค่ไหนนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับคนในหน่วยงานนั้นช่วยเหลือกัน  มีจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ให้ความเมตตากับผู้ที่ต่ำชั้นกว่า  อย่าแบ่งพรรคแบ่งฝ่ายเพราะทุกคนล้วนเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนให้งานสำเร็จ จะขาดตัวหนึ่งตัวใดไม่ได้ และในทางตรงกันข้ามถ้าหน่วยงานไหนไม่สามารถขจัดความเหลื่อมล้ำได้  การที่จะก้าวไปช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อที่จะแก้ปัญหาหรือวิกฤตก็ย่อมจะทำได้ด้วยความลำบาก

ส่วนเรื่องเด่นประจำสัปดาห์ในวันนี้จะขอเสนอเรื่อง การคัดค้านการบังคับคดี

การดำเนินการในชั้นบังคับคดีนับว่าสำคัญมากที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามผล เพราะหากจะต่อสู้คัดค้านหรือโต้เถียงการยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะต้องกระทำตามในกำหนดเวลาก่อนที่ทางบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลง ซึ่งถ้าว่าไปแล้วประชาชนชาวบ้านทั้งหลายก็หาใช่จะรู้กันไปทุกคนไม่

{xtypo_rounded2} คดีตัวอย่าง  ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วน ศาลชั้นต้นจึงมีหนังสือถึงนายอำเภอ ให้มีการโอนที่ดินที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดไปเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 53  แล้ว ดังนี้ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เพราะ เพราะฉะนั้นการที่มีจำเลยมายื่นคำร้องหลังจากนั้น เพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296 วรรค 2 เพราะเป็นการยื่นภายหลังการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว{/xtypo_rounded2}

{xtypo_rounded3} เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าการดำเนินการในชั้นบังคับคดีนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากมีการปฏิบัติถูกต้องก็จะบรรเทาความเสียหายลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบุคคลภายนอก เช่นผู้ค้ำประกัน  ซึ่งอาจที่เป็นผู้ประกันหนี้ ซึ่งอาจถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 2 หรือที่ 3  ซึ่งคนเหล่านี้นับว่าน่าเห็นใจอย่างยิ่ง ที่จะต้องถูกบังคับคดีทั้งที่เนื้อไม่ได้กิน หนังก็ไม่ได้รอง  แต่มีกระดูกไปแขวนคอ เรียกว่าเสียหายลูกเดียวครับ{/xtypo_rounded3}

จำนวนผู้เข้าชม =  {hits}2088{/hits} ครั้ง

พิมพ์