ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเพื่อใคร?

เขียนโดย อิฐบูรณ์ อ้นวงษา - หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. จำนวนผู้ชม: 9385


{xtypo_warning}สไลด์ที 1 เป็นภาพเปรียบเทียบการเติบโตการใช้ก๊าซรายสาขา จะเห็นว่าภาคขนส่งที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้มีการนำเข้า LPG และต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันไปจ่ายชดเชยนั้น มีอัตราการเติบโตนับแต่ปี 47-54 ที่ร้อยละ 20.5 เท่านั้น ในปี 54 มียอดใช้ 76,000 ตันต่อเดือน

แต่ให้ดูภาคปิโตรเคมีครับ จากปี 47-54 ยอดการใช้ LPG ขยับสูงขึ้น 24.4% ยอดใช้เมื่อปี 54 ช่วงน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอื่่นล้มระเนระนาด แต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีใช้ LPG ไปถึง 210,000 ตันต่อเดือน

ขณะที่ภาคครัวเรือนชาวบ้านอย่างพวกเราหลายสิบร้านครัวเรือนใช้ก๊าซหุงต้มโตแค่ 7% เท่านั้น จะเห็นว่าตัวการสำคัญที่ทำให้ LPG เกิดการขาดแคลนไม่เพียงพอในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คือภาคปิโตรเคมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือธุรกิจของปตท. นั่นเอง{/xtypo_warning}

 

{xtypo_sticky}สไลด์ที่ 2 ดูตัวเลขอาจจะตาลาย แต่ให้ดูภาพส่วนด้านล่างครับที่บอกว่า การจัดสรรก๊าซ LPG ช่วงปี  2551-2554 ประเทศไทยผลิตก๊าซ LPG ได้ราว 390,000 ตันต่อเดือน ปี 54 ผลิตได้สูงสุดคือได้ถึง 450,000 ตัน/เดือน เนื่องจากโรงแยกก๊าซหน่วยที่ 6 ที่มาบตาพุดเปิดโรงงาน LPG ที่ผลิตได้ในประเทศประมาณ 60%มาจากโรงแยกก๊าซ ซึ่งใช้ก๊าซจากอ่าวไทยเป็นวัตถุดิ

ส่วนโรงกลั่นผลิตได้ราว 40% ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน ที่อยากชี้ให้เห็นคือ เส้นรอยประที่ชี้ไปที่ภาคปิโตรเคมีจากก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ทั้งหมด 450,000 ตันไหลไปที่ปิโตรเคมีถึง 210,000 ตันต่อเดือน โดยอยู่ภายใต้คำว่า "การจัดสรร" ในขณะที่ภาคครัวเรือน ภาคยานยนต์ ภาคอุตสาหกรรม ต้องมาเบียดแย่งชิงใช้กันในส่วนที่เรียกว่า "ส่วนเหลือ" จำนวน 240,000 ตันต่อเดือน หากไม่พอใช้ก็ต้องนำเข้า นี่คือที่มาของคำกล่าวหา ว่า ภาครถยนต์ ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ LPG เป็รเชื้อเพลิง ว่าเป็นการใช้่พลังงานผิดประเภท รายละเอียดเรื่องนี้ยังไม่ปรากฏในสำนักข่าวไหนๆ อย่างจริงจังในขณะนี้

คำว่า "การจรรสัดสรรก๊าซ LPG" มีที่มาจาก การเห็นชอบของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีการประชุม ครม. เมื่อวันพุธที่ 19 พ.ย. 51 ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานดอนเมือง ที่ได้เห็นชอบหลักการจัดสรรปริมาณก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศให้กับปริมาณความต้องการในภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก ส่วนปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรข้างต้นจะถูกนำไปจัดสรรให้กับภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป และหากปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรในลำดับแรก(ให้ปิโตรเคมีกับภาคครัวเรือน) ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศมารองรับในส่วนที่ขาด{/xtypo_sticky}

{xtypo_quote}สไลด์ที่ 3 จะเห็นว่าจากนโยบายที่มุ่งเน้นประเคนทรัพยากรและผลผลิตที่ผลิตได้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นภาคธุรกิจขยายหารายได้ให้กับบริษัทบริษัทพลังงานแห่งชาติ เป็นนโยบายที่ขาดความเป็นธรรมกับสังคมเป็นอย่างมาก แต่ที่หนักหนาสาหัสกว่านั้น คือ การกำหนดภาระการชดเชยในแต่ละกลุ่มก็ไม่มีความเป็นธรรมเช่นกัน โดยเฉพาะภาคปิโตรเคมีที่มีปริมาณการใช้มากกว่าเพื่อนกลับถูกเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนเพียง 1 บาทต่อลิตรเท่านั้นซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น และเพิ่งเริ่มเรียกมาไม่นานนี้เอง หากรัฐบาลมีนโยบายเรียกความรับผิดชอบจากปิโตรเคมีให้มากขึ้นโดยการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้นสักครึ่งหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่โดนเรียกเก็บอยู่ที่ 8.4 บาทต่อลิตร ก็จะทำให้มีเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น จนไม่ต้องมาเบียดเบียนปรับขึ้นราคาก๊าซ

ที่้ร้ายกว่านั้น คือรัฐบาลจะกำหนดราคาก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศให้อิงกับราคา ณ โรงกลั่นซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพียงแค่ 40% ซึ่งใช้โครงสร้างราคาอิงน้ำมันดิบนำเข้า ก็จะทำให้ก๊าซที่ได้จากโรงแยกก๊าซของ ปตท. ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยแต่อิงราคาน้ำมันเตา ได้กำไรส่วนต่างจากตรงนี้ไป

ด้วยโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ....คำถามสำคัญที่จะต้องถามกับรัฐบาลชุดนี้ คือ นี่หรือคือต้นทุนที่แท้จริงที่จะหน้าด้านใช้เป็นเหตุผลปรับขึ้นราคากับชาวบ้านร้านช่องให้ต้องได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน{/xtypo_quote}

พิมพ์