ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค

การกำจัดผลิตภัณฑ์ปนสารปรอทด้วยการเผาอันตรายกว่าที่คิด

สารบัญ

090204-mercury

4 กุมภาพันธ์ 2552: กรุงเทพฯ - งานศึกษาวิจัยครั้งใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่สู่สาธารณะในหลายประเทศยืนยันว่า การเผาผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอทเป็นส่วนผสมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในแต่ละปีมีสารปรอทปนเปื้อนสู่บรรยากาศสูงกว่า 200 ตัน

ในจำนวนนี้เกิดจากกิจกรรมของคนถึงร้อยละ 10 งานศึกษาชิ้นนี้มีชื่อว่า “สารปรอทสูงขึ้น: ลดการเผาผลิตภัณฑ์ปนสารปรอทในทั่วโลก” ซึ่งเผยแพร่ออกสู่สาธารณะพร้อมกันจากองค์กรพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม, ในหลายประเทศ

การรณรงค์ผ่านงานศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการชี้ให้คนตระหนักถึงภยันตรายจากสารปรอทสู่สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่มีส่วนผสมของสารปรอท แต่ที่ผ่านมาคนไม่เข้าใจถึงอันตรายร้ายแรงของสารปรอทในบรรยากาศและไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้นัก

“เราเห็นว่าการศึกษาครั้งนี้มีความสำคัญคือ ช่วยทำให้เราตระหนักกันให้มากขึ้นว่า การเผาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารปรอทอันตรายกว่าที่เราคิดหรือรู้ ๆ กันมา” ไมเคิล เบนเดอร์ ผู้อำนวยการโครงการนโยบายปรอทกล่าว

“งานศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นว่าการเผาของเสียหรือผลิตภัณฑ์พวกนี้ทำให้สารปรอทกระจายสู่สิ่งแวดล้อมของโลกมากกว่าที่เราเคยคิดกันถึงสองเท่า”

งานศึกษาดังกล่าวมีการติดตามดูกิจกรรมการเผาหลัก ๆ หลายพื้นที่ด้วยกัน คือการเผาขยะหรือของเสียทางการแพทย์ การเผาของเสียอันตรายและของเสียจากเทศบาล การเผาตะกอนน้ำเสียจากเทศบาลต่าง ๆ และการลุกไหม้ของขยะตามหลุมฝังกลบขยะและการเผาในที่แจ้งหลายแห่งด้วยกัน

“รายงานฉบับนี้เน้นถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการเผาสิ่งเหล่านี้ทั้งในเตาเผาหรือการเผาไหม้ทั่วไป เราควรต้องยอมรับกันแล้วว่าการเผาไหม้ผลิตภัณฑ์หรือของเสียจากครัวเรือนที่มีส่วนผสมของสารปรอทอยู่นั้นไม่ว่าจะเป็นในเตาเผาขยะ ในหลุมฝังกลบใหญ่ๆ หรือการเผาในที่แจ้งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สารปรอทและสารพิษอื่น ๆ ปนเปื้อนสู่ระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลกด้วย” เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานจากกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรมกล่าว

รายงานการศึกษานี้ชี้ถึงสถานการณ์ระดับโลกว่า แหล่งหลัก ๆ ที่เป็นตัวการทำให้สารปรอทกระจายอยู่ในอากาศทั่วไปคือ มาจากการกำจัดของเสียพวกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารปรอทด้วยการเผา เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการจัดการของเสียจากโรงงาน ตามลำดับต่อไปนี้

  • การเผาของเสียอันตรายและของเสียจากเทศบาล (ร้อยละ 41 ของที่ปล่อยสู่อากาศทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเผาของเสียพวกผลิตภัณฑ์ที่มีปรอทปน)
  • การลุกไหม้ตามหลุมฝังกลบต่าง ๆ และการเผาของเสียพวกผลิตภัณฑ์ที่มีปรอทปนในที่แจ้ง (ร้อยละ 45 ของทั้งหมด)
  • การเผาของเสียจากสถานพยาบาล (ร้อยละ 11 ของทั้งหมด)
  • การเผาตะกอนน้ำเสียจากเทศบาล (ร้อยละ 3 ของทั้งหมด)

มีการศึกษาคล้าย ๆ กันที่เคยประเมินการปนเปื้อนของสารปรอทในอากาศที่มาจากการเผาพวกของเสียและผลิตภัณฑ์ที่มีปรอทเป็นส่วนผสม แต่ว่าการศึกษาเหล่านี้ไม่ได้ตามดูรายละเอียดของสารปรอทในสิ่งแวดล้อมที่มาจากการเผาตามหลุมฝังกลบและการเผาขยะครัวเรือนในที่แจ้ง

“เราอยากเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ หาทางยับยั้งการกำจัดของเสียเหล่านี้ด้วยการเผาโดยด่วน รวมถึงการเผาปรอททิ้ง และเปลี่ยนมาช่วยกันหาวิธีการจัดเก็บสารพิษชนิดนี้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนกว่า” วลัยพร มุขสุวรรณ เจ้าหน้าที่อาวุโสจากกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสากรรมกล่าว

ผลการศึกษานี้เผยให้เห็นความรุนแรงของสารปรอทที่กระจายอยู่ในอากาศของแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และเอเชียใต้ในระดับที่น้อยกว่าเล็กน้อย) ที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะครัวเรือนตามหลุมฝังกลบและตามที่โล่งแจ้ง และมีการตั้งข้อสังเกตที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของการเผาในที่โล่งแจ้งอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในแถบชนบท ที่เป็นแหล่งรวมพวกผลิตภัณฑ์ปนสารปรอทจำนวนมหึมาและอัตราการแปรรูปของเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่น้อยมาก

รายงานฉบับนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า วิธีการเผาของเสียเทศบาลอย่างถูกหลักการก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในกลุ่มประเทศเอเชียส่วนใหญ่ การสร้างของเสียปริมาณมาก ๆ การใช้และกำจัดผลิตภัณฑ์ปนสารปรอทที่ค่อนข้างสูงและการเผาโดยเตาเผาที่ทำเป็นหลักในญี่ปุ่นล้วนเป็นสิ่งที่บอกเล่าได้ว่าทำไมการปนเปื้อนสารปรอทในอากาศของภูมิภาคนี้จึงรุนแรง


ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า ในการประชุมที่องค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้ที่ไนโรบี ต้องผลักดันให้มีการตั้ง “คณะกรรมการเพื่อการเจรจาระหว่างประเทศ” ขึ้นมา 1 ชุด เพื่อผลักดันให้มีการเจรจาเรื่องการสร้าง “กลไกอิสระทางกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อควบคุมสารปรอท”

สำหรับช่วงรอยต่อก่อนที่จะมีกลไกเฉพาะที่ว่านี้ ทางองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติก็ควรมีมาตรการดังนี้

  • รับหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างกลไกทางกฎหมาย ความรู้ทางเทคนิค การวิเคราะห์ และการสร้างจิตสำนึกต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมของสารปรอท และประเทศต่าง ๆ ที่มีโรงงานเหล่านี้ดำเนินการอยู่ ยอมรับและปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้
  • เห็นพ้องว่า การเผาไหม้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอทในเตาเผาต่าง ๆ การลุกไหม้จากหลุมฝังกลบ และการเผาของเสียจากครัวเรือนในที่โล่งแจ้ง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สารปรอทและสารพิษอื่น ๆ ปนเปื้อนสู่ระบบนิเวศในระดับท้องถิ่นและระดับโลก และกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ มีมาตรการห้ามไม่ให้มีการเผาของเสียเหล่านี้ และหาวิธีการจัดเก็บสารพิษชนิดนี้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนกว่า

 

บุคคลติดต่อ :

1. Michael Bender, Mercury Policy Project, telephone # +01 802-223-9000, e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

2. วลัยพร มุขสุวรรณ, กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ติดต่อ: รายงานการศึกษาเรื่อง “Mercury Rising: Reducing Global Emissions from Burning Mercury-Added Products” ได้จาก websites: www.mercurypolicy.org, www.zeromercury.org

 

หมายเหตุ

Notes:

  1. ปรอทและองค์ประกอบอืน ๆ มีอันตรายต่อมนุษย์มาก โดยเฉพาะต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการพัฒนา และยังมีอันตรายกับระบบนิเวศและประชากรสัตว์ป่าต่าง ๆ ด้วย
  2. แหล่งกำเนิดของปรอทในธรรมชาติ เช่น จากการปะทุของภูเขาไฟ การระเหยจากผิวหน้าของดินและน้ำ รวมถึงผ่านการเสื่อมสลายของการเผาป่าและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การปนเปื้อนสารปรอทจากแหล่งน้ำและดินในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการย่อยสลายของปรอทที่มาจากทั้งแหล่งธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์
  3. ปรอทเป็นธาตุที่ปะปนอยู่ในถ่านหิน โรงไฟฟ้าถ่านหินที่สร้างเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดใหญ่สุดของโลกที่ทำให้อากาศปนเปื้อนสารปรอท

 


New Study Raises Concern over Mercury Pollution from Burning Products

Feb. 4, 2009; [Bangkok/Thailand] - A new study released today around the world shows that the burning of mercury-added products contributes upwards of 200 tons of mercury to the atmosphere every year

comprising 10 percent of the mercury that enters the earth’s atmosphere through human activities. The study entitled "Mercury Rising: Reducing Global Emissions from Burning Mercury-Added Products" released by several international non-governmental organizations, notes that mercury emissions from product wastes have been inadequately understood and seriously underestimated.

"Based on this report’s findings, we believe it is important to recognize that the burning of products containing mercury is much more significant than previously suspected," said Michael Bender, director of the Mercury Policy Project. "Our review shows that burning mercury product wastes contributes at least two times more mercury emissions to the global atmosphere than previously thought."


The main burning processes investigated in the report were medical waste incineration, municipal and hazardous waste incineration, municipal wastewater sludge incineration, and landfill fires and open burning.

"The report underscores the harmful environmental and health impacts posed by incineration or burning. It is time to recognize that combustion of mercury-added products in incinerators, landfill fires and open burning of domestic waste is a significant contributor of mercury and other toxics to both local and global ecosystems," said Penchom Saetang of Campaign for Alternative Industry Network (CAIN), an industrial pollution public organization based in Bangkok.

Globally, the report shows that the main sources of air emissions from the burning of mercury-added products in waste such as fluorescent light bulbs, mercury thermometers, not including manufacturing waste disposal, are as follows:

  • municipal and hazardous waste incineration (41% of the total air emissions related to burning of mercury-added products)
  • landfill fires and open burning of mercury-added products in waste (45% of the total).
  • medical waste incineration (11% of the total), and
  • municipal wastewater sludge incineration (3% of the total).

Similar studies have estimated mercury releases to air from the combustion of wastes and products containing mercury, however, these studies did not look carefully at the substantial emissions contributed by landfill fires and open burning of domestic waste.

"We urge countries to take immediate steps to stop incineration as a method of waste disposal, including mercury burning practices, and move expeditiously towards safe, just, sustainable and more environmentally-sound alternatives," said Walaiporn Mooksuwan of CAIN.

The report shows the magnitude of emissions in East and Southeast Asia (and South Asia to a lesser extent) due to landfill fires and open burning of domestic waste. These observations, the study notes, reflect a combination of significant open burning, especially in rural areas, a large quantity of products containing mercury in the region, and very low recycling rates.

Formal incineration of municipal waste is not common in most countries in Asia, noted the study. The generation of large volumes of waste, the relatively high use and disposal of mercury-added products, and the incineration in Japan of a very high percentage of its waste explain the magnitude of regional atmospheric mercury emissions from incineration.

The report recommends that, at the upcoming February meeting in Nairobi, of the United Nations Environment Programme (UNEP), establish an Intergovernmental Negotiating Committee for the purpose of negotiating a free-standing legally binding instrument on mercury.

In the interim period before such an instrument becomes effective, the report recommends to UNEP to take the following action:

  • Assume responsibility for the awareness-raising, analytical, technical and legal support activities necessary to encourage manufacturers of mercury-added products, and countries where such manufacturers are located, to identify and implement the actions.
  • Recognize that combustion of mercury-added products in incinerators, landfill fires and open burning of domestic waste is a significant contributor of mercury and other toxics to both local and global ecosystems, and urge countries to take steps to stop these practices and to move expeditiously towards safe, just, sustainable and more environmentally-sound alternatives.

 

CONTACTS:

1. Michael Bender, Mercury Policy Project, telephone # +01 802-223-9000, e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

2. Penchom Saetang, Campaign for Alternative Industry Network, email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

3. Walaiporn Mooksuwan, Campaign for Alternative Industry Network, email: walaiporn mooksuwan" ,

FOR MORE INFORMATION:

The report "Mercury Rising: Reducing Global Emissions from Burning Mercury-Added Products" is available at [PLEASE PUT THE URL OF YOUR WEBSITE WHERE THE REPORT CAN BE ACCESSED]

 

Notes:

 

  • Mercury and its compounds are highly toxic to humans, especially to the developing nervous system. They are also harmful to ecosystems and wildlife populations.
  • Mercury is released by natural sources like volcanoes, by evaporation from soil and water surfaces, as well as through the degradation of minerals and forest fires. Part of today’s emissions from soil and water surfaces, however, is composed of previous deposition of mercury from both man-made and natural sources.
  • Mercury is contained as a trace element in coal. The large use of coal-fired power plants in generating electricity, make mercury emissions to the air from this source among the world’s largest.

 

For more information about mercury please visit: www.zeromercury.org

พิมพ์ อีเมล

11279 views
ดิฉันได้อ่านบทความคอลัมน์ ชีวิตที่เลือกได้ เรื่อง กฟผ โดยคุณชัยอนันต์ สมุทวณิช ในนสพ. ผู้จัดการ เมื่...

Read more

24137 views
แม้ว่าในฉลากยา จะระบุให้ผู้ใช้ยาได้ทราบถึงวิธีใช้ยาและความถี่ของการใช้แล้วก็ตาม ...

Read more

10635 views
ถกกันอีกรอบกับประเด็น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เอกชนเตรียมรวมตัวกันในนาม 9 สมาคมฯ ขอรัฐแก้กฎหมาย...

Read more

13475 views
 ปัจจุบันนี้อาหารสำเร็จรูปเป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น ฉลากโภชนาการเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ไ...

Read more

รู้ไว้ใช้สิทธิ์

IMAGE มหากาพย์ซิมฟรี แถมหนี้ไม่อั้น
“ได้รับแจกซิมฟรี แต่ไม่ได้เปิดใช้บริการ...
IMAGE อันตรายจากการหางานตามใบปลิว
เดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหน...
IMAGE สิทธิของผู้โดยสาร
ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนสิ่ง ที่ตามมาก็คือ...
IMAGE กฎหมายน่ารู้ผู้โดยสาร
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ