ข่าว/บทความรถโดยสาร

คปภ.เพิ่มสิทธิประโยชน์ พ.ร.บ.

สั่งวินาศภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 5 หมื่นบาททันที


ยกเครื่องเคลมประกันภัยพ.ร.บ. “คปภ.” สั่งวินาศภัยสำรองจ่ายค่าเสีย หายเบื้องต้น 5 หมื่นบาทไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิดภายใน 7 วันหลังเอกสาร ครบ ฝ่าฝืนเจอข้อหาประวิงทันที ปรับ สูงสุด 5 แสนบาทพร้อมประจานชื่อผ่านเว็บไซต์ ขู่ห้ามตุกติกหรือเรียกเอกสารเพิ่มเด็ดขาด พร้อมจัดลำดับ สิทธิเบิกค่ารักษาผู้ประสบภัยจากรถ ต้องเบิกจากพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบ ภัยจากรถให้เต็มสิทธิก่อน ถึงค่อยใช้สิทธิเบิกส่วนที่เกินจากกองทุนอื่นทีหลัง ป้องกันใช้สิทธิซ้ำซ้อน

หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทางมูลนิธิเพื่อ ผู้บริโภค และดร.อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 2 แกนนำตัวแทนภาคประชาชนยกมาเป็น ข้อโจมตีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 โดยเฉพาะบริษัทประกันวินาศภัยในฐานะผู้รับประกันภัยรถภาคบังคับภายใต้กฎหมายฉบับนี้และเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ไปคือความเดือดร้อนที่ผู้ประสบภัยจากรถได้รับเวลาเรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนจากบริษัทประกันภัย

กล่าวคือต้องสำรองจ่ายค่ารักษา พยาบาลล่วงหน้าก่อนเนื่องจากประสบ ปัญหายุ่งยากในการทำเรื่องเบิกค่าเสีย หายจากบริษัทประกันภัย ซึ่งต้องใช้หลักฐานจำนวนมากและขั้นตอนการเบิกยุ่งยาก แต่ละบริษัทกำหนดขั้นตอน ไม่เหมือนกันทำให้ผู้ประสบภัยหันไปใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือกองทุนประกันสุขภาพอื่นเป็นภาระกับรัฐบาลนั้น

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทประกันภัยได้แก้ปัญหา ในจุดนี้ โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถประกอบด้วย

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมบัญชีกลาง กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานประกันสังคมหาข้อสรุปเรื่องการจัดลำดับการใช้สิทธิค่ารักษา พยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถเพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคปภ. เปิดเผยว่า ทั้ง 5 หน่วยงานมีข้อตกลงกันให้ผู้ประสบภัยจากรถเบิกค่ารักษารักษาพยาบาลจากบริษัทที่รับประกัน ภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจนกว่าจะเต็มจำนวนสิทธิที่ได้รับตามกฎหมายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีบาดเจ็บ 15,000 บาทสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทก่อน หลังจากนั้นค่อยไปสิทธิเบิกส่วนที่เกินจากนี้หรือตั้งแต่ 50,001 บาทขึ้นไปตามสิทธิเฉพาะตัวที่ผู้ประสบภัยมีอยู่

หากเป็นผู้ประกันตนให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2535 กรณีเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำและผู้ รับ บำนาญให้ใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกา เงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 ขณะที่ผู้มีสิทธิตามบัตรประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

นางจันทรา กล่าวว่า สำนักงานคปภ. ได้มีข้อตกลงกับสมาคมประกันวินาศภัยว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปต้นไปบริษัทประกันภัยต้องเป็นผู้สำรองจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นสูงสุด ไม่เกิน 50,000 บาทให้กับผู้ประสบภัยจาก รถโดยไม่รอต้องพิสูจน์ถูกผิดเหมือนที่ผ่าน มาเพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับความคุ้มครองอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น บริษัท ค่อยไปไล่เบี้ยเรียกคืนกันเองภายหลังที่มีการพิสูจน์ถูกผิดแล้ว

ทั้งนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วันหากฝ่าฝืนจะลงโทษ ปรับข้อหาประวิงโดยโทษปรับสูงสุด 500,000 บาทพร้อมประกาศชื่อบริษัทที่ถูกลงโทษผ่านทางเว็บไซต์คปภ.เพื่อให้สาธารณชนรับทราบด้วยพร้อมกันนั้นให้ลดเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อลดความยุ่งยากและให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับความสะดวกมากที่สุด

“ทั้งการจัดลำดับสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลและการให้บริษัทประกันภัยสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ประสบภัยจากรถเพื่อให้ได้รับการชดใช้อย่างรวดเร็ว ลดความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบ ภัยโดยเฉพาะผู้บาดเจ็บหนักและต้องรักษาพยาบาลเป็นเวลานาน อย่างรถ 2 คันชนกันมีประกันภัยทั้งคู่และมีผู้บาดเจ็บ ให้แต่ละบริษัทต่างคนต่างจ่าย ถ้าอีกคันมีประกันแต่อีกคันไม่มีให้คันที่มีจ่ายไปก่อน และถ้าไม่มีประกันภัยทั้งคู่ให้บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัดหรือทำเรื่องเบิกมาที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งหลังจากนี้จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถรับรู้ถึงการใช้สิทธิ”

สำหรับประเด็นบริษัทประกันภัยมีค่าบริหารจัดการประกันพ.ร.บ.สูงเกินไปนั้น นางจันทรา กล่าวว่า ตนได้หารือกับสมาคม ประกันวินาศภัยให้ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ซึ่งทางสมาคมฯจะกลับไปทบทวนเรื่องนี้และจะกลับมาหารือกันอีกครั้งในสัปดาห์นี้เช่นกัน ซึ่งในเรื่องค่าบริหารในการดำเนินงานของบริษัทประกัน ภัยเหมือนกับค่าการตลาดของกลุ่มธุรกิจน้ำมันต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างทั้งภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันในธุรกิจมากน้อยเพียงใด อาทิ อัตราเงินเฟ้อสูงค่าใช้จ่ายต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ต้องลดลงเพื่อความอยู่รอดของบริษัทประกันภัย

“เรามีตัวเลขค่าใช้จ่ายในการดำเนิน งานของบริษัทประกันภัยในใจอยู่แล้วควร จะเป็นเท่าไหร่แต่ยังบอกไม่ได้ ซึ่งการพิสูจน์ ค่าใช้จ่ายสูงเกินไปหรือไม่ ไม่ยากดูในราย งานผลดำเนินงานประจำเดือนของ บริษัท จะรู้ ถ้าสูงเกินไปเราเทกแอ็กชั่นทั้งใช้มาตรการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) เพราะถ้าค่าใช้จ่ายสูงเกินไปจะกระทบกับเงินกองทุนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนประชาชนที่ผ่านมามีน้อยบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตามหลักบริษัทประกันภัยต้องมีกำไรบ้าง แต่ไม่สูงจนเกินไป ซึ่งในประเด็นค่าใช้จ่ายสูงต้องไปดูเหตุผลสูงเพราะอะไรบางทีบริษัทปรับระบบงานด้านสินไหมใหม่ เพื่อให้บริการประชาชนเร็วขึ้น เพื่อผลในเชิงการแข่งขันประกันวินาศภัยเป็นธุรกิจบริการ ใครบริการดีประชาชนประทับใจ”

นางจันทรา กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นกรณี เสียชีวิตและทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะจากเดิน 100,000 บาทเป็น 200,000 บาทและค่าชดเชยรายวันกรณีรักษาตัวใน โรงพยาบาลวันละ 200 บาทเป็นไม่เกิน 20 วันโดยจะระบุเพิ่มเติมไว้ในกรมธรรม์ด้วย

ด้านนายวิวัฒน์ เกิดไพบูลย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกฎหมาย สำนักงานคปภ. กล่าวเสริมว่า กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากบริษัทประกันภัยได้รับเอกสารประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้น ครบถ้วนต้องจ่ายค่าเสียหายภายใน 7 วันและห้ามเรียกเอกสารเกินเลยจากที่กำหนด โดยเอกสารที่กำหนดประกอบด้วย 1.เอกสารแสดงตัว อาทิ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น 2.หลักฐานแสดงว่าประสบภัยจากรถ อาทิ บันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวน, ใบเคลมจากบริษัทประกันภัย

ขณะที่ค่าสินไหมทดแทนส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นหากข้อเท็จจริงได้ข้อยุติบริษัทประกันภัยสามารถจ่ายได้ภายใน 7 วันเช่นกัน

“ในเรื่องของความซ้ำซ้อนในการใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถก็ได้ข้อสรุปแล้วว่าให้เบิกจาก พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อนซึ่งกองทุนที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันอย่างของกรมบัญชีกลางออกกฎชัดเจนหากผู้ประสบภัยจากรถมาใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลให้ใช้สิทธิเบิกจากพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อนถ้าไม่พอค่อยมาใช้สิทธิของรัฐ”

อย่างไรก็ดี นายวิวัฒน์ กล่าวว่า การหารือกับหน่วยงานข้างต้นเป็นแค่ขั้นเริ่มต้นเท่านั้นยังมีอีก 3-4 ประเด็นที่ต้องหารือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป อย่างทาง สปสช.มองว่าประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยังเป็นประโยชน์กับประชาชนอยู่ แต่ยังมีข้อขัดข้องในทางปฏิบัติ โดยประเด็นหลักคือให้บริษัทประกันภัยปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะระบบการจ่ายเงินต้องรวดเร็ว ไม่มี การตุกติกหรือเรียกหลักฐานเกินเลย

นสพ.สยามธุรกิจ ประจำวันที่ 29-8-2009  ถึง 1-9-2009

พิมพ์ อีเมล